การพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามกรอบ CEFR ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนิเทศรูปแบบออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลการดำเนินงานการพัฒนาครูผู้สอนโดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามกรอบ CEFR ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการนิเทศรูปแบบออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ครูจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกตามกรอบ CEFR ด้วยการนิเทศรูปแบบออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) ครูผู้ช่วย จำนวน 30 คน และ 2) นักเรียนจากกลุ่มเป้าหมายที่ 1 จำนวน 30 คน โดยการคัดเลือกนักเรียน กลุ่มละ 10 คน (เก่ง, ปานกลาง, อ่อน) โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของครู 4) แบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียน 5) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ใน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ T-test ผลการศึกษา พบว่า 1) คู่มือมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.23/ 82.44 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูผู้สอนก่อนและหลังการใช้คู่มือ พบว่า หลังใช้คู่มือ ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจคู่มือ ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อคู่มือในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินพฤติกรรมการสอน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้คู่มือการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ตามกรอบ CEFR แตกต่างกัน และผลการประเมินความพึงพอใจและพฤติกรรมของนักเรียนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กวีนา ศิลารวม และสิทธิพล อาจอินทร. (2560). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคบูรณา การของ Murdoch ร่วมกับการใช้แผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ถนอมจิตต์ สารอต, พีรดล เพชรานนท์, และชวนิดา สุวานิช. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาพลศึกษา ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมี วิจารณญาณ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
นิลวรรณ ทองเทียนชัย. (2564). การนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะกระบวนการคิดของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
พระรุ่งโรจน์ กาวิลาวรรณ. (2562). การพัฒนาคู่มือการ สอนพระพุทธศาสนาโดยใช้พุทธวิธีการสอนในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นในโรงเรียนพระปริยัติธรรม.
วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(4), 981-994.
พันธ์นุพงษ์ วงวาน. (2563). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. Journal of Education Thaksin University, 20(1), 50-65.
สุธน วงค์แดง และ พรนภัส ทับทิมอ่อน. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารสำหรับครูระดับประถมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 21-38.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
หน่วยศึกษานิเทศก์. (2562). แนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพมหานคร
ฮาซานะห์ บินมะอุง และคณะ. (2561). การนิเทศแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการสอนอ่านเชิงวิพากษ์สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Hartman, J., & Morris, K. (2019). Developing an Effective Interactive Online Educational Leadership Supervision Course. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 31(3), 524-535.
Ramli, R. A. M. L. I. (2018). Promoting Active Learning Activities To Improve Students’ Speaking Ability. Social Science Learning Education Journal, 3(11), 8-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.