บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม เชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สุทธพงษ์ ขวดแก้ว นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระครู โสภณกิตติบัณฑิต หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 372 คน สำหรับการคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample size) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จากจำนวนประชากรทั้งหมด 5,229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง กำหนดใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อใช้ในการบรรยายข้อมูลหรือผลลัพธ์จากแบบสอบถาม ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ระดับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ด้านพฤติกรรมตามสถานการณ์ที่เหมาะสมกับฐานะของตนเอง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการรู้จักตัวเองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการประเมินผลของการปฏิบัติหน้าที่ มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติหน้าที่ มีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ

References

กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลสถิติประชากรทะเบียนราษฎร์ (สำนักการบริหารงานทะเบียน: กรมการปกครอง ธันวาคม 2565). สืบค้น 4 พฤษภาคม 2566, จาก https://www. stat.bora. dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ.2565. กรุงเทพฯ: กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์ความถดถอยและสหสัมพันธ์เชิงซ้อน (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์ และฉัตรยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น.

เทศบาลตำบลไหล่หิน. (2564). แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566 - 2570. ลำปาง: งานนโยบายและแผนเทศบาลตำบลไหล่หิน.

พระธวัชชัย สนติธมโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561). การวิจัยเชิงปริมาณทางรัฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Mead, M.H. (1950). Social Psychology. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Edition). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/26/2024

How to Cite

ขวดแก้ว ส., & โสภณกิตติบัณฑิต พ. (2024). บทบาทของนักการเมืองท้องถิ่นในการจัดการขยะชุมชนแบบมีส่วนร่วม เชิงบูรณาการภาครัฐและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา, 2(3), 27–35. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/IAEM/article/view/1069

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)