การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และความเสมอภาคทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
ปัญญาประดิษฐ์, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้, จันทบุรี, Chat GPTบทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการสร้างสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล AI ไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2. พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 3. ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปร 4. ศึกษาปัจจัยความสำเร็จ ของครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร) ประจำจังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม โดยจัดอบรมการใช้ Generative AI (Chat GPT) ในการเตรียมการสอนในรูปแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรทางการศึกษา สกร.จังหวัดจันทบุรี จำนวน 129 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม ใช้ t-test แบบจับคู่ (Paired t-test) สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนและหลังอบรมอบรม ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ ใช้ค่าเฉลี่ยในการประเมินผลการศึกษา 1.ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรม ด้วย t-test แบบจับคู่ (Paired t-test) พบว่าคะแนนหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) 2. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ด้านความรู้และด้านทักษะ มีค่าเฉลี่ยพัฒนาการ 2.30 และ 2.45 ตามลำดับ ถือว่าระดับคุณภาพดีมาก 3. ค่าสหสัมพันธ์ของการอบรมและผลสัมฤทธิ์สูงมาก มีค่า 0.85 และ 4. ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ การฝึกปฏิบัติและคุณภาพของเนื้อหา ผลลัพธ์การนำไปใช้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและนวัตกรรมการสอนในระดับที่สูงขึ้น การทดสอบการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ กล่าวโดยสรุป เครื่องมือวิจัยทั้งสองชนิดมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกด้าน และมีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับสูงถึงสูงมาก
References
กลางใจ สิทธิถาวร. (2566). AI กับการศึกษาในอนาคต 2030: โอกาสและความท้าทายในการเรียนรู้. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.ets.kmutt.ac.th/post/ai-in-education.
Afam U., Kagezi K., Omotoyosi A. O. (2024). The effectiveness of in-service teacher training programs in enhancing Forum for Education Studies. Forum for Education Studies, 2(3), 1465.
Anderson, M., & Lee, S. (2023). Artificial intelligence in education: Transforming teaching and learning. Journal of Educational Technology, 45(3), 312 – 328.
Apiya H. (2024)· The Role of Artificial Intelligence in Computer Science Education. Journal of Learning Innovations and Technology, 4(1), 13 – 18.
Brown, C., Taylor, S., & White, J. (2023). Transforming education through AI: A case study analysis. Teaching and Learning with Technology, 26(4), 512 – 531.
Chen, Y., Li, H., & Wu, Z. (2023). Integration of AI in educational settings: Best practices and outcomes. Journal of Computer Assisted Learning, 39(2), 445 – 462.
Garcia, M., & Lopez, R. (2023). The role of AI in promoting educational equity. International Journal of Educational Technology, 10(2), 78 – 95.
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Geelong: Deakin University.
Richardson, V. (2023). Constructivist pedagogy. Teachers College Record, 105(9), 1623 – 1640.
Zhiyi Xu (2024). AI in education: Enhancing learning experiences and student outcomes. Applied and Computational Engineering, 51(1), 104 – 111.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการศึกษา
![Creative Commons License](http://i.creativecommons.org/l/by-nc-nd/4.0/88x31.png)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.