ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง ผลของการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ด้านคำศัพท์ของผู้เรียนก่อนและหลังเรียน จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชันโดยเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนบ้านปงสนุก จังหวัดลำปาง จำนวน 46 คน โดยได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับสื่อแอนิเมชัน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและความเข้าใจข้ามวัฒนธรรม จำนวน 5 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ผู้ศึกษาจัดทำขึ้น และ 3) แบบประเมินความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมฉบับครูประเมินและฉบับนักเรียนประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่า Paired –sample t - test ค่าสหสัมพันธ์ภายในชั้น (ICC) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach’s alpha) โดยใช้สูตรของครอนบัค ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมคิดเป็นร้อยละ 77.69 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสารReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551กรุงเทพมหานคร. กระทรวงศึกษาธิการ.
สมบัติ คชสิทธิ์ และคณะ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0.
ธันย์จิรา ภูริอุดมเศรษฐ์. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจําคําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวันที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสัมพันธ์ขอบความหมาย. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมตา เวชพฤติ และคณะ (2546). How to Teach Vocabulary: วิธีการสอนศัพท์. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโซน่า.
ณัฐฌาภรณ์ เดชราช. (2562). ฐานคิดในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสามัตถิยะสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของนักศึกษาไทย. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปีที่ 14 ฉบับที่2. 65-82.
Jafarova, K. A. (2021). The role of extralinguistic factors in interlingual relations and theoretical issues of interference. Linguistics and Culture Review. 5(1). 43-52.
Whorf, B. L. (1956). Language, thought, and reality: Selected writings of Benjamin Lee Whorf. MIT Press.
เพ็ญพิชชา อัษฎาวุธวงศกร และ นิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561). การใช้การสอนภาษาที่เน้นคำศัพท์ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, ปีที่ 20 ฉบับที่ 4. 144-156.
ภาสินี จุลเจิม และธัญภา พลานุกูลวงศ์. (2560). ประสิทธิผลของการสอนคำปรากฏร่วมประเภทคำศัพท์ต่อความรู้ด้านคำปรากฏร่วมของนักเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ปีที่ 12 ฉบับพิเศษ. 112-125.
พิรพิมล บัวผดุง. (2556). ผลของการใช้คำคล้องจองภาษาไทยประกอบคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทุ่งสีเสียด อำเภอบางสะพานน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, ปีที่ 6 ฉบับที่ 2. 655-664.
ชินณพัฒน์ ศรีสุขจิตร์. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปภาพเพื่อเพิ่มความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโคกสะอาดหนองหัวช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 29-36.
Ellis, E. S. (1998). Visual and Auditory LINCS to Background Knowledge: A Key for Learning New Terms. Alabama: Masterminds.
อมีนา ฉายสุวรรณ และ ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2559). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2. 193-203.
ฐาปนพงศ์ สารรัตน์ และ สืบศิริ แซ่ลี้. (2560). การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ โดยใช้เทคนิคการจับภาพเคลื่อนไหว แบบมุมมอง 360 องศาเพื่อการเรียนรู้กีฬาเชียร์ลีดดิ้ง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1. 112-124.
สุวิช ถิระโคตร และคณะ. (2560). เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2. 92-101.
สัมพันธ์ พันธ์พฤกษ์. (2540). สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร. สุวีริยาสาส์น.
ชุตินันท์ จันทรเสนานนท์ และคณะ. (2555). การพัฒนาแบบวัดสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์. ปีที่ 40 ฉบับที่1. 43-58.
Byram M. (1997). Teaching and Assessing Intercultural Communicative Competence. Multilingual Matter. Clevedon: UK.
Liljequist, D., Elfving, B., & Skavberg Roaldsen, K. (2019). Intraclass correlation - A discussion and demonstration of basic features. PLOS ONE, 14(7), e0219854.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย.พิมพ์ครังที่ 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุชาดา ปราบมีชัย และ สมสมร เรืองวรบูรณ์. (2559). ผลของสื่อแอนิเมชั่นต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1, 96-109.
ศิวาวุฒิ มงคลวิสุทธิ์. (2560). การใช้การ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษและเจตคติของนักเรียนชาติพันธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, ปีที่ 11ฉบับที่ 3. 255-262.
Ausubel, D. P. (1963). The psychology of meaningful verbal learning. New York: Grune & Stratton.
Paivio, A. (1986). Mental representations: A dual coding approach. Oxford University Press.
ปวีณา บุตรวงค์. (2558). ผลการเรียนรู้และความคงทนการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กลวิธีลินซ์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. ปีที่13 ฉบับที่ 2. 45-56.
วาทิณี ไชยมงคล. (2561). ผลการสอนโดยกลวิธีลินซ์ที่มีต่อความรู้ด้านคำศัพท์ภาษาอังกฤษและเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาโต่ จังหวัดเชียงราย. เชียงใหม่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิวาพร มหาทํานุโชค. (2559). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และความคงทนในการจำคำศัพท์กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของนักศึกษาปกากะญอ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่จัดกระบวนการสอนโดยกลวิธีลินซ์.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1. 82 – 89.
กฤติน เก้าเอี้ยน. (2560). การพัฒนาทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม และความสามารถ ในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มร่วมกับ แนวคิดจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัย ศิลปากร
Wang, D., Fan, D., Freeman, S. M., & Zhu, C. J. (2017). Exploring cross-cultural skills for expatriate managers from Chinese multinationals: congruence and contextualization. Asia Pacific Journal of Management. 34(1). 123-14