การพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • สุพรรษา สุเทพ -

คำสำคัญ:

เครือข่าย, การมีส่วนร่วม, การบริหารจัดการขยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน 353 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 8 คน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า (1) เครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) การบริหารจัดการขยะในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญคือ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือน เพื่อส่งเสริมการคัดแยก ลดปริมาณขยะ เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขน และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดขยะ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2565-2570). กรุงเทพฯ : กรมควบคุมมลพิษ.

กรมอนามัย. (2561). คู่มือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

เกียรติศักดิ์ เศรษฐพินิจ. (2556). การนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จุมพล หนิมพานิช. (2549). การวิเคราะห์นโยบาย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยากร หวังมหาพร. (2554). การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและการวางแผน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. เอกสารประกอบการสอน.

พระมาโนช สุทฺธจิตฺโต. (2565). รูปแบบการแปรรูปขยะให้เป็นพลังงานสะอาดแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มยุรี อนุมานราชธน. (2547). นโยบายสาธารณะ แนวความคิด กระบวนการและการวิเคราะห์. เชียงใหม่: คะนึงนิจ.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ สวัสดิวงศ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการจัดการขยะกับความสำเร็จในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดชุมพร. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

โสภณ สุวรรณรัตน์ และเกรียงศักดิ์ สร้อยสุวรรณ. (2565). รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนบนฐานวิถีชีวิตใหม่ : กรณีศึกษาจังหวัดเลย. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 22(2), 311-326

Cheema, G. Shabbir and Dennis A. Rondinelli. (1983). Decentralization and Development: Policy Implementation in Developing Countries. Beverly Hills: Sage Publications.

Sabatier, P.A. and Mazmanian, D.A. (1980). “The Implementation of Public Policty: A Framework of Analysis”. Policy Studies journal. 8(special issue) : 538-550.

Yamane, Taro. (1973). Statistics; An Introduction Analysis. Harper International Edition, Tokyo.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31