https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/issue/feed วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน 2025-03-31T14:09:27+07:00 ดร.อณิษฐา หาญภักดีนิยม cddjournal67@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน (</strong><strong>Journal of Research and Development,Community Development Department)</strong></p> <p> วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงาน บทความวิจัย (Research Articles) และบทความวิชาการ (Academic Article) ที่จัดพิมพ์เผยแพร่ โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลงานวิชาการจากคณาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ ประกอบด้วย ผลงานของบุคลากรกรมการพัฒนาชุมชนและภายนอกหน่วยงาน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน เป็นผู้ประเมิน เพื่อพิจารณาคุณค่าและความถูกต้องของผลงานตามหลักวิชาการ มีการกำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม)</p> https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1588 นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้งส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กรณีศึกษา บ้านโปร่งสำโหรง หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2025-01-31T09:27:43+07:00 Wichet Petcharat chetpetcharat@gmail.com <p>การวิจัยเรื่อง นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กรณีศึกษา บ้านโปร่งสำโหรง หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนบ้านโปร่งสำโหรง 2. เพื่อศึกษานวัตกรรมธนาคาร<br />น้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร 3. เพื่อนำเสนอนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร <br />โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ Focus Group จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key - Informants) ได้แก่ ข้าราชการประจำสำนักงานพัฒนาชุมชนหัวหิน ผู้รับผิดชอบตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และผู้นำชุมชนบ้านโปร่งสำโหรง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และปราชญ์ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า <br />1. การทำธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งของพื้นที่บ้านโปร่งสำโหรงได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับคนในชุมชน เป็นความสำเร็จที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ชาวบ้านให้ความร่วมมือส่งเสริมอย่างแพร่หลาย 3. สามารถต่อยอดและเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ 4. สภาพแวดล้อมเกิดความอุดมสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติอุปโภคบริโภคของชุมชน 5. เกษตรกรมีน้ำไว้เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1577 การพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมของพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ ตำบลปงยางคกอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 2025-01-30T11:18:27+07:00 Nuttanit Ruccatiwong chermman55@gmail.com Net Jaiteung natee0925@gmail.com Paweena Ngamprapasom paweena@g.lpru.ac.th <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างทีมปฏิบัติการงานวิจัยชุมชนตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมของพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ ตำบลปงยางคก <br />อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง 3) เพื่อประเมินผลการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมของพื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และเป็นพื้นที่ตัวอย่างให้กับเกษตรกร<br />ผลการวิจัยพบว่า 1) สามารถสร้างทีมปฏิบัติการงานวิจัยชุมชน จำนวน 20 คน เป็นแกนนำในการร่วมขับเคลื่อนงาน 2) พื้นที่เรียนรู้ต้นแบบ ได้พัฒนารูปแบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมโดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่น <br />ลดการพึ่งพาสารเคมี และส่งเสริมความยั่งยืนในชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ผลการประเมินพบว่า การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรับใช้ภูมิปัญญา และกระบวนการมีส่วนร่วม ช่วยสร้าง<br />การรับรู้แก่ผู้นำชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ด้วยการวิเคราะห์ดินนำไปสู่ลดต้นทุนการผลิตในระยะยาว <br />โดยต้องเชื่อมโยงเครือข่ายและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง</p> <p>คำสำคัญ: เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจแบบองค์รวม</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1650 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ (BCG) กลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์ 2025-02-14T16:48:49+07:00 Sirinuch Sirisuriya s.sirinuch@gmail.com <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ศักยภาพ<br>และทุนชุมชน 2) เพื่อศึกษารูปแบบการนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ3) เพื่อทดสอบรูปแบบ<br>การนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยเครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อย 20 คน และภาคีเครือข่าย 10 คน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อยสามารถทอผ้าได้ 21 ลาย ย้อมผ้าได้ทั้ง<br>สีเคมี และสีธรรรมชาติย้อมได้เฉพาะสีดำจากผลมะเกลือ มีภูมิปัญญาในการมัดหมี่ที่หลากหลาย <br>มีการนำเส้นไหม เส้นด้ายที่เหลือจากการทอสลับลาย เพื่อให้ได้ผ้าผืนใหม่ที่แตกต่างจากเดิม จากการนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยการนำลักษณะรูปแบบหม้อดินที่เป็นอาชีพของชุมชนในอดีต<br>มาออกแบบเป็นลายผ้าอัตลักษณ์ของชุมชน ภายใต้ชื่อ “อะแด๊ะปล๊ะ อะแด๊ะแหยง” หรือ “หม้อเงิน หม้อทอง” ซึ่งบ่งบอกที่มาของผู้คนที่นี่เชื่อมโยงเป็น Story เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ การทดสอบรูปแบบได้นำเส้นไหมมามัดหมี่ลายอัตลักษณ์ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่และหมักโคลน <br>โดยผลที่ได้เส้นไหมออกมาเป็นสีน้ำตาลเข้ม เป็นการย้อมสีธรรมชาติได้เพิ่ม 1 สี เพื่อเป็นผ้าต้นแบบ <br>และเป็นการพัฒนาที่แตกต่างจากเดิม</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1687 การพัฒนาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โคก หนอง นา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก 2025-02-17T17:36:37+07:00 ตีรนรรถ อ่อนตรา Teeranut2124@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจคุณภาพน้ำในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โคก หนอง นา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง ด้วยการเติมมูลวัวลงในสระน้ำตัว C สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทดลองเปรียบเทียบกับ สระน้ำตัว L ที่ไม่เติมมูลวัว ปรากฏผลการทดลอง สระตัว C เติมมูลวัว วัดค่า pH มีค่าลดลง จาก 9.21 ลดลงเหลือ 8.48 โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 8.77 เพื่อปรับสภาพเป็นค่ากลาง (6.5 – 8.5) เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะปลูกพืช มีสารที่ละลายได้ทั้งหมดมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 258 เป็น 413 ppm โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 351 ppm ค่าความเค็มมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 0.02 - 0.03 ppt มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.03 ppt แสดงให้เห็นว่ามูลวัว มีผลต่อค่าความเค็มของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ค่าของน้ำจืด ค่าความนำไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น จาก 520 เป็น 885 µmohs/cm โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 730.2 µmohs/cm จะเห็นได้ว่ามูลวัวสดสามารถปรับสภาพน้ำสระตัว C ช่วยลดความเป็นด่างสูงในบ่อ C ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเจริญเติบโตของพืช</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1674 รูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี 2025-02-21T13:30:38+07:00 Research Chonburi cddchonburilearning@gmail.com <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เทศบาลเมืองปรกฟ้า และเพื่อกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า พัฒนาการอำเภอเกาะจันทร์ คณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า การดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้านั้นมีความสมบูรณ์แบบครบถ้วนในแง่ของการปฏิบัติ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ตามแนวทางการดำเนินงานคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อย่างไรก็ตามหลังจากกิจกรรม&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; จัดเวทีเพื่อค้นหาปัญหาพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ มีข้อจำกัดและปัญหาเกี่ยวกับการพูดและการวางบุคลิกภาพ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในที่สาธารณะ และการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานนั้นยังคงใช้เป็นลักษณะการส่งข้อความ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ซึ่งขาดความน่าสนใจ ดังนั้นผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยจึงร่วมกันพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมต่อการพัฒนาการดำเนินงานของคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเทศบาลเมืองปรกฟ้า 2 แนวทาง ดังนี้ 1) การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะ 2) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1599 การประเมินความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้รูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวม ในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 2025-02-08T18:09:00+07:00 กฤตวิทย์ ละอองศิริวงศ์ panidhan.r@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบตำบลทุ่งลูกนก และ 2) ประเมินผลรูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและผู้แทนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงและการอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ตำบลทุ่งลูกนก มีอาชีพเลี้ยงโคนมและทำการเกษตรเป็นหลัก และพบปัญหาสำคัญ คือ ต้นทุนค่าอาหารและค่าปุ๋ยสูงขึ้น และยังขาดระบบหมุนเวียนทรัพยากรในพื้นที่ โดยองค์ความรู้ที่สำคัญจากการลงมือปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา คือ การแปรรูปของดี ได้แก่ น้ำตาลอ้อย และแปรรูปของเสีย ได้แก่ ปุ๋ยหมักจากมูลโคนม รวมถึงมีการทดลองในแปลงตัวอย่างและส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 2) ประชาชนมองว่าแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ง่ายต่อการนำไปใช้ และสร้างรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นประโยชน์ในอนาคต โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญ บรรจุเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความยั่งยืน อาทิ การพัฒนาผลิตภาพทางด้านเกษตรปลอดภัย การแปรรูปวัตถุดิบชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนช่องทางการตลาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1761 การพัฒนาเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2025-03-03T16:53:38+07:00 สุพรรษา สุเทพ t.konggirdlarp@gmail.com <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน จำนวน 353 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง จำนวน 8 คน และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล โดยใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า (1) เครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการขยะในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (2) การบริหารจัดการขยะในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และ (3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญคือ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางผ่านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และครัวเรือน เพื่อส่งเสริมการคัดแยก ลดปริมาณขยะ เพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขน และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการกำจัดขยะ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1753 การจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการ จังหวัดสมุทรปราการ 2025-03-04T09:17:58+07:00 Thanadon Tongmee kikinwza007@gmail.com <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เพื่อศึกษาการจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการ 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยการทำงานของสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อ การจัดการความปลอดภัยในการทำงานอย่างยั่งยืนของสถานประกอบการในจังหวัดสมุทรปราการ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิในการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามสำกับกับกลุ่มตัวอย่างลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสมุทรปราการ และการสัมภาษณ์นายจ้างหรือผู้ประกอบการในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข-คณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า นายจ้างส่วนใหญ่ในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมมีพฤติกรรมใน การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ในระดับดี ทั้งนี้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานมีทักษะ และความรู้ จะมี ลักษณะการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมากกว่าลูกจ้างที่ไม่มีทักษะและความรู้ในงานที่ปฏิบัติ ในขณะที่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในลักษณะงานที่เสี่ยงอันตราย จะมีลักษณะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงานน้อยกว่าลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในลักษณะงานที่ไม่เสี่ยงอันตรายและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1754 แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2025-03-03T17:06:10+07:00 เบญจพร เสมียนสิงห์ kikinwza007@gmail.com <p>จากการที่รัฐบาลได้มุ่นเน้นการเตรียมพร้อมต่อสังคมสูงวัยตามที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นเหตุสำคัญที่รัฐมีแผนนโยบายและกลยุทธ์ในการดูแลประชากรผู้สูงอายุสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากถึงร้อยละ 92.44 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถดถอยของร่างกายและการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดการลื่นล้ม การพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ด้วยหลัก “3 ส” สุขกาย สบายใจ และสานสายใยสังคม เพื่อลดอุบัติเหตุจากการอยู่ภายในบ้าน รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติต่าง ๆ บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การดำเนินงานหลักเกณฑ์ในระบบ TPMAP เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีใน 5 มิติ ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนาระบบสุขภาพ 2) ด้านความเป็นอยู่ ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้มั่นคงและและปลอดภัย 3) ด้านการศึกษา ควรมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ให้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ 4) ด้านรายได้ ส่งเสริมเรื่องการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรง มีสุขภาพดีให้ได้รับโอกาสในการทำงานและประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และ 5) ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ยกระดับขีดความสามารถสู่การบริหารจัดการภาครัฐให้อย่างทั่วถึง ตามแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกันคือ วางแผนและกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน เสริมสร้างทัศนะคติเชิงบวก ส่งเสริมให้เกิดการสร้างคุณค่า สร้างรายได้แก่ตัวเอง ส่งเสริมการออม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตหรือฝึกอบรมบุคลากรด้านผู้สูงอายุ และสร้างการรับรู้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและเยี่ยมเยียนกลุ่มผู้สูงอายุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต อันเป็นการตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีศักยภาพและการดำรงชีวิตที่ดีต่อไป</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน https://so11.tci-thaijo.org/index.php/cdd/article/view/1711 การศึกษาความเข้มแข็งของกลุ่มตลาดเกษตรกรตัวจริงทุกสิ่งปลอดภัย จังหวัดมหาสารคาม 2025-02-24T11:59:32+07:00 MISS CHALIDA YAMSRISUK ychalidaa@gmail.com <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp;&nbsp;</p> <p>การศึกษาความเข้มแข็งของกลุ่มตลาดเกษตรกรตัวจริงทุกสิ่งปลอดภัย จังหวัดมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์การศึกษา การจัดการกลุ่มสู่ความเข้มแข็ง และการขยายเครือข่าย เพื่อพัฒนาและส่งเสริม การดำเนินงานของกลุ่มแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของสมาชิก และแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะอาชีพระหว่างสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ จากการสังเคราะห์เอกสารแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่า ภาพรวมการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักการสหกรณ์ ด้วยการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม การเลือกคณะกรรมการกลุ่ม การออกความคิดเห็น การแสดงความคิดเห็น เพื่อการพัฒนาสมาชิกกลุ่ม และแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะอาชีพระหว่างสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ&nbsp;&nbsp;</p> 2025-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน