จริยธรรมการตีพิมพ์

Ethics

จริยธรรมในการตีมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร (Publication Ethics)

จริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics)

       วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน ให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ โดยกำหนดให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักการและมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  1. พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ โดยเน้นความสอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร และประเมินคุณภาพของบทความในกระบวนการประเมินก่อนการตีพิมพ์
  2. พิจารณาบทความโดยใช้เหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก โดยปราศจากอคติต่อผู้วิจัยหรือเนื้อหาของบทความหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้วิจัยหรือผู้ประเมิน ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจหรือการนำไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
  3. ไม่ปิดกั้น ดัดแปลง หรือแทรกแซงข้อมูลที่สื่อสารระหว่างผู้ประเมินและผู้วิจัย
  4. ปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนของวารสารอย่างเคร่งครัด

บทบาทและหน้าที่ของผู้วิจัย

  1. บทความที่ส่งต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. ต้องอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน หลีกเลี่ยงการลอกเลียนหรือการใช้ผลงานของผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต หากงานวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์ ต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด และต้องมีเอกสารรับรองจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
  3. ยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้กับวารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่ซ้ำในแหล่งอื่น
  4. รายชื่อผู้วิจัยในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมจริงในการดำเนินงานวิจัยและการเขียนบทความ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. ต้องไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้วิจัย และประเมินบทความด้วยความเป็นกลางและยึดหลักวิชาการ
  2. ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของบทความที่ได้รับมอบหมายให้ประเมิน
  3. ต้องไม่แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวจากบทความที่ตนเองทำการประเมิน
  4. หากพบว่าบทความมีการลอกเลียนผลงาน ต้องแจ้งบรรณาธิการทันทีพร้อมหลักฐานที่ชัดเจน
  5. ต้องปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดในการประเมิน และรักษาความลับของข้อมูลในบทความ

วารสารขอยืนยันการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความน่าเชื่อถือของผลงานวิชาการที่เผยแพร่