แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
การพัฒนาคุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ขจัดความยากจน, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
จากการที่รัฐบาลได้มุ่นเน้นการเตรียมพร้อมต่อสังคมสูงวัยตามที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ กล่าวคือ มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นเหตุสำคัญที่รัฐมีแผนนโยบายและกลยุทธ์ในการดูแลประชากรผู้สูงอายุสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในด้านที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาอยู่ในที่พักอาศัยมากถึงร้อยละ 92.44 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถดถอยของร่างกายและการเคลื่อนไหว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เกิดการลื่นล้ม การพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ด้วยหลัก “3 ส” สุขกาย สบายใจ และสานสายใยสังคม เพื่อลดอุบัติเหตุจากการอยู่ภายในบ้าน รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในมิติต่าง ๆ บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุสู่การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การดำเนินงานหลักเกณฑ์ในระบบ TPMAP เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีใน 5 มิติ ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู และพัฒนาระบบสุขภาพ 2) ด้านความเป็นอยู่ ปรับสภาพแวดล้อมภายในบ้าน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก ให้มั่นคงและและปลอดภัย 3) ด้านการศึกษา ควรมีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ให้เข้ามาอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ 4) ด้านรายได้ ส่งเสริมเรื่องการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรง มีสุขภาพดีให้ได้รับโอกาสในการทำงานและประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และ 5) ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ ยกระดับขีดความสามารถสู่การบริหารจัดการภาครัฐให้อย่างทั่วถึง ตามแนวทางการขับเคลื่อนร่วมกันคือ วางแผนและกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน เสริมสร้างทัศนะคติเชิงบวก ส่งเสริมให้เกิดการสร้างคุณค่า สร้างรายได้แก่ตัวเอง ส่งเสริมการออม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตหรือฝึกอบรมบุคลากรด้านผู้สูงอายุ และสร้างการรับรู้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าและเยี่ยมเยียนกลุ่มผู้สูงอายุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือให้บรรลุเป้าหมายในอนาคต อันเป็นการตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีศักยภาพและการดำรงชีวิตที่ดีต่อไป
References
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546.
กรุงเทพมหานคร:เจเอสการพิมพ์, 2547.
กรมสุขภาพจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. ค้นหาวันที่ 14
พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?i
d=30476, 2566.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. รูปแบบที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพกาย-ใจ
ภายใต้แนวคิดชุมชนที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
นัสมล บุตรวิเศษและอุปริฏฐา อินทรสาด. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา
อำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (รายงานการวิจัย) วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา,
พัชรี หล้าแหล่ง. การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวน
ปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้. รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้, 2556.
มนตรี ตรีอาภรณ์ไพศาล. อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทํางานและการรับรู้คุณค่าของงานที่มีต่อ
ความเหนื่อยหน่ายในการทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 18-25, 2564.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. การเผชิญหน้า ‘สังคมผู้สูงอายุ’ โจทย์ท้าทายภาระ
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น. ค้นหาวันที่ 14 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงได้จาก
https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/, 2564.
อุสาสันต์ กอธวัช และคณะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความปลอดภัยและสะดวกสบายในการอยู่
อาศัยของผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน. (รายงานการวิจัย) สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, 2561.
Maslow A. Motivation and personality. New York: Harper & Row, 1970; 35-58 .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.