การพัฒนาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โคก หนอง นา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
คำสำคัญ:
คุณภาพน้ำ, หลักกสิกรรมธรรมชาติ, โคก หนอง นาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจคุณภาพน้ำในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ 2) เพื่อพัฒนาคุณภาพน้ำให้เหมาะสมกับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โคก หนอง นา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงทดลอง ด้วยการเติมมูลวัวลงในสระน้ำตัว C สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทดลองเปรียบเทียบกับ สระน้ำตัว L ที่ไม่เติมมูลวัว ปรากฏผลการทดลอง สระตัว C เติมมูลวัว วัดค่า pH มีค่าลดลง จาก 9.21 ลดลงเหลือ 8.48 โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 8.77 เพื่อปรับสภาพเป็นค่ากลาง (6.5 – 8.5) เป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเพาะปลูกพืช มีสารที่ละลายได้ทั้งหมดมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 258 เป็น 413 ppm โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 351 ppm ค่าความเค็มมีค่าเพิ่มขึ้น จาก 0.02 - 0.03 ppt มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.03 ppt แสดงให้เห็นว่ามูลวัว มีผลต่อค่าความเค็มของน้ำที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ค่าของน้ำจืด ค่าความนำไฟฟ้ามีค่าเพิ่มขึ้น จาก 520 เป็น 885 µmohs/cm โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 730.2 µmohs/cm จะเห็นได้ว่ามูลวัวสดสามารถปรับสภาพน้ำสระตัว C ช่วยลดความเป็นด่างสูงในบ่อ C ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เหมาะสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเจริญเติบโตของพืช
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.