นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้งส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กรณีศึกษา บ้านโปร่งสำโหรง หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, ความมั่นคงทางอาหาร, ธนาคารน้ำใต้ดินบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร กรณีศึกษา บ้านโปร่งสำโหรง หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนบ้านโปร่งสำโหรง 2. เพื่อศึกษานวัตกรรมธนาคาร
น้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร 3. เพื่อนำเสนอนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ภัยแล้ง ส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร
โดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ Focus Group จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key - Informants) ได้แก่ ข้าราชการประจำสำนักงานพัฒนาชุมชนหัวหิน ผู้รับผิดชอบตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และผู้นำชุมชนบ้านโปร่งสำโหรง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และปราชญ์ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า
1. การทำธนาคารน้ำใต้ดินสามารถแก้ปัญหาภัยแล้งของพื้นที่บ้านโปร่งสำโหรงได้อย่างยั่งยืน สามารถสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้กับคนในชุมชน เป็นความสำเร็จที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม 2. เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ชาวบ้านให้ความร่วมมือส่งเสริมอย่างแพร่หลาย 3. สามารถต่อยอดและเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ 4. สภาพแวดล้อมเกิดความอุดมสมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น เป็นแหล่งต้นน้ำธรรมชาติอุปโภคบริโภคของชุมชน 5. เกษตรกรมีน้ำไว้เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ ทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
References
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และการวางแผน กองแผน กรมการพัฒนาชุมชน. (2565). แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570 ของกรมการพัฒนาชุมชน (หน้า 5-7). สืบค้นจากhttps://anyflip.com/dlqrw/ypui/basic
ขวัญใจ เปือยหนองแข้. (2563). ธนาคารน้ำใต้ดิน: นวัตกรรมการบริหารจัดการน้ำ. พัฒนวารสาร, 7(1), 281.
ฉัตรชัย โชติษฐยางกูร. (2562). รูปแบบการกักเก็บน้ำใต้ดินเพื่อบรรเทาภาวะแห้งแล้งในลุ่มน้ำมูลตอนบน [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นริศรินทร พันธเพชร และคณะ. (2564) รูปแบบการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินอย่างยั่งยืน
ของจังหวัดยโสธร.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6 (3), 92-107.
นิภารัตน์ สายประเสริฐ. (2553). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ [ดุษฎีนิพนธ์]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บัญชา จันทราช. (2566). นวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าเกษตรในครัวเรือนอย่างยั่งยืน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7 (1), 18-32.
ปกิตน์ สันตินิยม. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดินเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี [ดุษฎีนิพนธ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ (2566). สภาพทั่วไป. สืบค้นจาก https://www.huaisatyai.go.th/.
P K IS HAPPY. (2560). การวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ. https://khwankongoup.wordpress.com/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยและพัฒนา กรมการพัฒนาชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.