การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจ (BCG) กลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • Sirinuch Sirisuriya -

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ทุนชุมชน , ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชน ศักยภาพ
และทุนชุมชน 2) เพื่อศึกษารูปแบบการนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ3) เพื่อทดสอบรูปแบบ
การนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยเครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ คณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อย 20 คน และภาคีเครือข่าย 10 คน

                        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทอผ้าบ้านคูขาดน้อยสามารถทอผ้าได้ 21 ลาย ย้อมผ้าได้ทั้ง
สีเคมี และสีธรรรมชาติย้อมได้เฉพาะสีดำจากผลมะเกลือ มีภูมิปัญญาในการมัดหมี่ที่หลากหลาย
มีการนำเส้นไหม เส้นด้ายที่เหลือจากการทอสลับลาย เพื่อให้ได้ผ้าผืนใหม่ที่แตกต่างจากเดิม จากการนำทุนชุมชนมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยการนำลักษณะรูปแบบหม้อดินที่เป็นอาชีพของชุมชนในอดีต
มาออกแบบเป็นลายผ้าอัตลักษณ์ของชุมชน ภายใต้ชื่อ “อะแด๊ะปล๊ะ อะแด๊ะแหยง” หรือ “หม้อเงิน หม้อทอง” ซึ่งบ่งบอกที่มาของผู้คนที่นี่เชื่อมโยงเป็น Story เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ การทดสอบรูปแบบได้นำเส้นไหมมามัดหมี่ลายอัตลักษณ์ย้อมด้วยสีธรรมชาติจากเปลือกประดู่และหมักโคลน
โดยผลที่ได้เส้นไหมออกมาเป็นสีน้ำตาลเข้ม เป็นการย้อมสีธรรมชาติได้เพิ่ม 1 สี เพื่อเป็นผ้าต้นแบบ
และเป็นการพัฒนาที่แตกต่างจากเดิม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31