ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

Main Article Content

พระครูสุวรรณสิทธิธาดา วันคำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนามี ๔ ประการ คือ ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ที่หามา ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนดี ๔. สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียงซึ่งหากพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วหลักธรรมทั้ง ๔ เรื่องนี้เป็นเรื่องของการจัดการโภคทรัพย์ หรือทรัพย์ภายนอกที่เราทุกคนต่างดิ้นรนแสวงหาทั้งที่ความจริงทุกคนสามารถมีทรัพย์อันประเสริฐได้ทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว บุคคลใกล้ชิด และแก่สังคมหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์เป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญเป็นสิ่งอัศจรรย์ หากบุคคลใดน้อมนำไปปฏิบัติแล้วย่อมได้รับผลจากการปฏิบัติของมนุษย์ในสังคมบริโภคนิยม ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในระดับต่าง ๆ กล่าวคือเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จหรือที่เรียกว่าหัวใจเศรษฐี บ้างเรียกว่า อุ อา กะ สะ หรือ อาจเรียกเต็ม ๆ ว่า ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกรรม ๔ ธรรมที่เป็นไประโยชน์ในปัจจุบันเป็นธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขชั้นต้นให้แก่ ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับสังคม และระดับประเทศ โดยสามารถแก้ไขปัญหา และก่อให้เกิดคุณค่าด้านต่าง ๆ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี ด้วยธรรม ๔ ประการนี้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
วันคำ พ. (2025). ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ในการดำเนินชีวิต. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(2), 15–27. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/963
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). คำวัด, กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง, ๒๕๔๘

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). ธรรมนูญชีวิต,พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๗.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยธรรม เพื่อชีวิตที่ดีงาม, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, กรุงเทพมหานคร: กองทุนอริยมรรค, ๒๕๔๕

คูณ โทขันธ์, พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน, พิมพ์ครั้งที่ ๑, กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๓๗.

บุญมี แท่นแก้ว, จริยศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่๓, กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, ๒๕๓๙.

หนังสือภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน ครั้งที่ ๑๑ พิมพลักษณ์: กรุงเทพมหานคร, พ.ศ.๒๕๔๕

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์, ทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียง, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕.

สุกัญญา สร้อยฟ้า.“การศึกษาพฤติกรรมการนำหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ของประชาชนในเขตตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖.

สุวิทย์ รุ่งวิสัย. ปัญหาสังคม, เชียงใหม่: ดวงตะวันการพิมพ์, ๒๕๒๖.

สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรม, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๑๘.