The Noble Truth in Paticcasamuppada Doctor of Buddhist Studies Program, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

Main Article Content

Phra Maha Vasuthep Yannamethi n̂ảphu

Abstract

หนังสือเรื่อง “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”นี้ เป็นหนังสือที่เขียนโดยสุภีร์ ทุมทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบาลีพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโมส จ.นครปฐม หนังสือ “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท” นี้เรียบเรียง จากคำบรรยายในหัวข้อ “สาระธรรมจากพระสุตตันตปิฎก” ที่ชมรมคนรู้ใจ ณ ห้องพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ เวลา 18.30 – 20.30 น. โดยได้นำมาจากการบรรยายครั้งที่ 40 ซึ่ง บรรยายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมตามสมควร มีเนื้อหาจำนวน 115 หน้า หนังสือเรื่องนี้มีสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาที่บรรยายนั้น ได้แสดงอริยสัจในแง่มุมต่างๆ และแจกแจงอริยสัจ 4 ในองค์ประกอบของกระบวนการปฏิจจสมุปบาท 12 อย่าง ตามแนวที่ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้ใน สัมมาทิฏฐิสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ตอนที่ 40 ชื่อหัวข้อว่า อริยสัจ 4 ตอนที่ 5 ในเรื่องอริยสัจ 4 ก็ได้บรรยายไปแล้ว 4 ตอนด้วยกัน ที่ได้อธิบาย ไปแล้ว มีอยู่ 6 เรื่อง พูดเรื่องความหมาย ความสำคัญโทษของการไม่รู้อริยสัจ ประโยชน์ของการรู้อริยสัจสิ่งที่ควรทราบพิเศษในเรื่องอริยสัจ แล้วก็ข้อสุดท้ายเป็นข้อที่ 6 ขยายความอริยสัจแต่ละข้อ ในคราวที่แล้วก็พูดถึงหัวข้อที่ 6 นี้


ในเรื่องอริยสัจ 4 ก็พูดเรื่องทุกข์และความพ้นไปแห่งทุกข์เท่านั้น ปีใหม่นี้ ท่านทั้งหลายส่งความสุขให้กันมากเกินไป จนอาจจะลืมความจริงไปแล้ว อริยสัจนั้นไม่ได้พูดเรื่องความสุข พูดเรื่องทุกข์กับความพ้นไปแห่งทุกข์เท่านั้น ทุกข์นั้นมี แต่ตัวเราผู้เป็นทุกข์ ไม่มี เหตุให้เกิดทุกข์ก็มีเหมือนกัน แต่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่มีความดับสนิทของทุกข์ ความไม่มีทุกข์ คือนิพพาน ก็มีเหมือนกัน แต่คนผู้ไม่มีทุกข์ คนผู้พ้นทุกข์ไม่มีหนทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ก็มีเหมือนกัน แต่คนผู้เดินทางนั้นไม่มี พูดสรุปง่ายๆ ก็มีเฉพาะเรื่องทุกข์กับความพ้นไปแห่งทุกข์ มีข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อให้บทความนี้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลอย่างละเอียด อาจมีบางประเด็นที่ผู้วิจารณ์เห็นต่างจากผู้เขียนบ้าง จึงต้องการวิจารณ์เชิงเสวนาไปพร้อมกับผู้เขียน และแสดงมุมมองในแบบฉบับของผู้วิจารณ์ต่อไป


ผู้เขียนหนังสือเรื่อง“อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”นี้ กล่าวถึงการขยายความ อริยสัจในแต่ละข้อ ในคราวที่แล้วได้พูดไปในแบบที่ 1 คือ แบบทั่วไป มีในพระสูตรเป็นอันมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแล้ว จะเข้าใจแบบอื่นๆ ไปด้วย เพราะแท้ที่จริง ก็เหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่ ขยายความเพื่อให้เหมาะสมกับจริตกับอัธยาศัยของแต่ละคน

Article Details

How to Cite
Yannamethi n̂ảphu P. M. V. . (2024). The Noble Truth in Paticcasamuppada: Doctor of Buddhist Studies Program, Mahachulalongkornrajavidyalaya University. ๋Journal Navangasatthusasana Review, 2(2), 122–128. retrieved from https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/970
Section
ฺBook Reviews

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530., 2535.

สุภีร์ ทุมทอง. “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์, 2556.