อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระมหาวาสุเทพ ญาณเมธี น้ำพุ

บทคัดย่อ

หนังสือเรื่อง “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”นี้ เป็นหนังสือที่เขียนโดยสุภีร์ ทุมทอง อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาบาลีพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโมส จ.นครปฐม หนังสือ “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท” นี้เรียบเรียง จากคำบรรยายในหัวข้อ “สาระธรรมจากพระสุตตันตปิฎก” ที่ชมรมคนรู้ใจ ณ ห้องพุทธคยา ชั้น 22 อาคารอัมรินทร์ พลาซ่า ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ เวลา 18.30 – 20.30 น. โดยได้นำมาจากการบรรยายครั้งที่ 40 ซึ่ง บรรยายเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 ได้นำมาปรับปรุงเพิ่มเติมตามสมควร มีเนื้อหาจำนวน 115 หน้า หนังสือเรื่องนี้มีสาระสำคัญที่ต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาที่บรรยายนั้น ได้แสดงอริยสัจในแง่มุมต่างๆ และแจกแจงอริยสัจ 4 ในองค์ประกอบของกระบวนการปฏิจจสมุปบาท 12 อย่าง ตามแนวที่ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้ใน สัมมาทิฏฐิสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ตอนที่ 40 ชื่อหัวข้อว่า อริยสัจ 4 ตอนที่ 5 ในเรื่องอริยสัจ 4 ก็ได้บรรยายไปแล้ว 4 ตอนด้วยกัน ที่ได้อธิบาย ไปแล้ว มีอยู่ 6 เรื่อง พูดเรื่องความหมาย ความสำคัญโทษของการไม่รู้อริยสัจ ประโยชน์ของการรู้อริยสัจสิ่งที่ควรทราบพิเศษในเรื่องอริยสัจ แล้วก็ข้อสุดท้ายเป็นข้อที่ 6 ขยายความอริยสัจแต่ละข้อ ในคราวที่แล้วก็พูดถึงหัวข้อที่ 6 นี้


ในเรื่องอริยสัจ 4 ก็พูดเรื่องทุกข์และความพ้นไปแห่งทุกข์เท่านั้น ปีใหม่นี้ ท่านทั้งหลายส่งความสุขให้กันมากเกินไป จนอาจจะลืมความจริงไปแล้ว อริยสัจนั้นไม่ได้พูดเรื่องความสุข พูดเรื่องทุกข์กับความพ้นไปแห่งทุกข์เท่านั้น ทุกข์นั้นมี แต่ตัวเราผู้เป็นทุกข์ ไม่มี เหตุให้เกิดทุกข์ก็มีเหมือนกัน แต่ตัวตน สัตว์ บุคคล ไม่มีความดับสนิทของทุกข์ ความไม่มีทุกข์ คือนิพพาน ก็มีเหมือนกัน แต่คนผู้ไม่มีทุกข์ คนผู้พ้นทุกข์ไม่มีหนทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ ก็มีเหมือนกัน แต่คนผู้เดินทางนั้นไม่มี พูดสรุปง่ายๆ ก็มีเฉพาะเรื่องทุกข์กับความพ้นไปแห่งทุกข์ มีข้อมูลในการอ้างอิงเพื่อให้บทความนี้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยผู้เขียนได้สืบค้นข้อมูลอย่างละเอียด อาจมีบางประเด็นที่ผู้วิจารณ์เห็นต่างจากผู้เขียนบ้าง จึงต้องการวิจารณ์เชิงเสวนาไปพร้อมกับผู้เขียน และแสดงมุมมองในแบบฉบับของผู้วิจารณ์ต่อไป


ผู้เขียนหนังสือเรื่อง“อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”นี้ กล่าวถึงการขยายความ อริยสัจในแต่ละข้อ ในคราวที่แล้วได้พูดไปในแบบที่ 1 คือ แบบทั่วไป มีในพระสูตรเป็นอันมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแล้ว จะเข้าใจแบบอื่นๆ ไปด้วย เพราะแท้ที่จริง ก็เหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่ ขยายความเพื่อให้เหมาะสมกับจริตกับอัธยาศัยของแต่ละคน

Article Details

How to Cite
ญาณเมธี น้ำพุ พ. (2024). อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท: หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(2), 122–128. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/970
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2530., 2535.

สุภีร์ ทุมทอง. “อริยสัจในปฏิจจสมุปบาท”. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์, 2556.