พินิจวงจรปฏิจจสมุปบาทตามหลักพระพุทธศาสนา หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท หมายถึง การเกิดขึ้นร่วมกันของธรรม 12 ประการ คือ อวิชชา สังขารวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ ซึ่งความสัมพันธ์ของปฏิจจสมุปบาท มีทั้งสายเกิด และสายดับ โดยสายเกิดนั้น อวิชชาทำให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทำให้เกิดนามรูป นามรูปทำให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะทำให้เกิดผัสสะผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาทำให้เกิดตัณหา ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน อุปาทานทำให้เกิดภพ ภพทำให้เกิดชาติ ชาติทำให้เกิดชรามรณะ ชรามรณะทำให้เกิดความทุกข์ โศรก ปริเทวนา ความทุกข์ทั้งปวงก็เกิดขึ้น ส่วนสายดับก็ดับย้อนกลับไป เมื่อดับได้อย่างนี้ วงจรของปฏิจจสมุปบาทที่มีการสืบต่อมานานก็ขาดตอนลง วงจรของชีวิตไม่มีการสืบต่อ การเกิดในชาติปัจจุบันนี้ ถือว่าเป็นชาติสุดท้าย การดับวงจรของชีวิตหรือดับปฏิจจสมุปบาทได้ ถือว่าเป็นการบรรลุธรรมชั้นสูงในพระพุทธศาสนาเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอรหันต์ จักไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
__________ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
__________ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย, โรงพิมพ์วิญญาณ, 2532 - 2534.
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี. หลักปฏิบัติพิจารณาปฏิจสมุปบาท. โครงการธรรมศึกษาวิจัย:
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 2551.
บรรจบ บรรณรุจิ. กระบวนธรรมเพื่อความเข้าใจชีวิตปฏิจจสมุปบาท. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
บรรจบ บรรณรุจิ. ปฏิจจสมุปบาท. กรุงเทพมหานคร: พรบุญการพิมพ์. 2538.
พร รัตนสุวรรณ. พุทธวิทยา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ. 2537.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 17.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา. 2554.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2542.
พุทธทาสภิกขุ. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ธรรมสภา.
เพิ่ม รัฐไชย. “การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องหลักปฏิจจสมุปบาท”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2522.