คุณค่าของเมตตาพรหมวิหารในการดำเนินชีวิต หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า เมตตาเป็นหลักธรรมที่สำคัญต่อความสงบสุขและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน หลักพรหมวิหารข้อแรก คือ เมตตาแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาความสุข ความรักใคร่ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น จิตใจมีความสุข ไม่เห็นแก่ได้ ความไม่พยาบาท อยากให้ผู้อื่นมีความสุข เป็นกุศลมูล เมตตาที่ถูกต้องแสดงออกจากจิตใจที่อ่อนละมุน เป็นใจที่สงบจากความทุกข์ร้อน สงบจากความโลภ ความโกรธ ความหลง แต่ใจที่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ใจที่กำลังทุกข์ร้อนปราศจากเมตตา ตนเองไม่มีความเมตตาเพราะทำให้ใจตนเองร้อน ไม่มีความสุข คนมีเมตตาคนเดียวสามารถทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขได้มากมาย เช่นเดียวกันกับคนไม่ดีคนเดียว ก็สามารถทำให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนได้มากมาย เมตตาต้องประกอบด้วยปัญญา เพราะปัญญาจะช่วยพิจารณาได้ถูกต้อง ว่าควรเมตตาต่อผู้ใด เมื่อใดเป็นคุณไม่เป็นโทษ เมตตามีคุณค่าต่อครอบครัว ต่อการศึกษา ต่อการทำงาน เมตตาเป็นหลักในการสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบ ปลอดภัยทั้งบุคคลและทรัพย์สิน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
ดนัย ไชยโยธา. พจนานุกรมพุทธศาสน์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์, 2544.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556.
พระราชวรมุนี. ปรัชญาการศึกษาไทย ฉบับแก้ไข-รวบรวมใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ, 2528.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทฺธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 44. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
________. ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2542.
________. จากสุขในบ้านสู่ความเกษมศานติ์ทั่วสังคม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2542.
พระธรรมโกษาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). โรงเรียนวิถีพุทธในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2548.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตฺโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทฺธศาสตร์ ชุดคาวัด. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง, 2556.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542.
พิสิฐ เจริญสุข. ปกิณกธรรม สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป .กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2543.
ยุบลวรรณ ตั่นเธียรรัตน์. มนุษย์กับสังคม.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2540.
วรญา ทองอุ่น. มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 2548.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2535.
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน). พรหมวิหารธรรม. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์บริษัทสหายการพิมพ์ จํากัด, 2527.
สมเด็จพระพุฒจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) ผู้แปล. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2544.
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. รวมธรรมะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่งจํากัด, 2539.
แสวง บุญเฉลิม. รวมคำบรรยาย หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564.