สติสัมปชัญญะที่ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า หลักธรรมเบื้องต้นที่ช่วยคอยสนับสนุนหลักธรรมอื่นๆ ทั้งหมด คือ สติสัมปชัญญะซึ่งเป็นการใช้สติในการความระลึกและรู้ตัวเองอยู่เสมอจะทำให้สามารถควบคุมการกระทำต่าง ๆ นั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาใจตัวเอง ให้อยู่กับปัจจุบัน ดูกายมันทำงาน ดูใจมันทำงานไป สติสัมปชัญญะคือความระลึกได้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด ความยั้งคิดรอบคอบในกิจการ การขาดสติทำให้เกิดโทษทำให้เกิดความคับข้องใจซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้นั้น เช่น ก่อให้เกิดโรคจิต โรคประสาท นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงทางกายสาเหตุจากจิตใจ มนุษย์จำเป็นต้องมีสติอยู่เสมอในทุกขณะที่กำลังทำอยู่ระลึกว่ากำลังทำอะไร เล็งเห็นประโยชน์จากการทำผลรับที่ได้จากการทำค่อยๆ ทำด้วยความเอาใจใส่ ไม่รีบร้อนเพื่อให้งานเสร็จไว ทำงานด้วยใจรักในงานที่ทำ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างทำงานให้ใช้ความคิดทบทวนว่า ปัญหานั้นเกิดจากอะไร มีสาเหตุอย่างไร แล้วค่อยๆ หาทางแก้ไข หากการใช้ชีวิตโดยไม่มีสติสัมปชัญญะ มีโอกาสเกิดปัญหาสูงมาก เพราะเราจะไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ไม่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี หรืออาจใช้ชีวิตอยู่บนความประมาทก็ได้ ดังนั้นเราต้องสร้างเครื่องเตือน เพื่อให้หยุด และไม่ให้ทำอะไรเกินเลยไปเสียก่อน การมีสติสัมปชัญญะสามารถปรับชีวิตและจิตใจของเราให้เข้ากับในทุก ๆ สถานการณ์ของชีวิตประจำวัน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ชลลดา ทองทวี. และคณะ รายงานผลโครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551.
พระธรรมกิตติวงศ(ทองดี สุรเตโช) . พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสนชุดคําวัด .พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพสถาบันบันลือธรรม, 2548.
พระมหาสว่าง จตฺตมโล (ถุนกระโทก).“การศึกษาเจตคติ และความเข้าใจเกี่ยวกับเบญจกัลยาณธรรมในพระพุทธศาสนา ศึกษาเฉพาะกรณี : ชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร” , วารสารรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564).
พระโพธิญาณเถระ (ชาสุภทฺโท). อุปลมณี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา, 2553.
พุทธทาส อินฺทปญฺโญ. โพธิปักขิยธรรมประยุกต์.พิมพ์ครั้งที่ 69.สุราษฎร์ธานี:ธรรมทานมูลนิธิ
สวน โมกข์ไชยา, 2545.
พุทธทาสภิกขุ. สติ. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร: จักรานุกุลการพิมพ์, 2528.
พระสุภกิจ สุปญฺโญ . “การประยุกต์ใช้สติสัมปชัญญะสำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน”วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม2564): 106.
พันตำรวจเอก (พิเศษ) บุญเพ็ญ แขวัฒนะ.กฎแห่งธรรมชาติ:คุณค่าของสติ.[ออนไลน์].
แหล่งที่มา::http://www.tong9.com/main/index.php/menu1/menu18/menu19.
สิงหาคม 2565].
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส.บาลีไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2542.
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฎฺฐายีมหาเถระ). มงคลในพระพุทธศาสนา.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กิตติวรรณ, 2538.