การเจริญอินทรียสังวรศีลในปาริสุทธิศีล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นเทคนิคการเจริญอินทรียสังวรศีลในปาริสุทธิศีล ได้แก่ ศีลคือการสำรวมอินทรีย 6 ประการ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งทำให้จิตสงบและพัฒนาไปสู่ความรู้ระดับญาณ การสำรวมทางสายตาเมื่อมองเห็นรูปก็เข้าใจว่าเป็นเพียงรูปที่จะตั้งอยู่ได้ชั่วคราวเท่านั้นเป็นสิ่งที่ไม่จีรังยั่งยืน การสำรวมทางหูเป็นการสำรวมทางการได้ยินเสียงที่จะเข้ามากระทบทางหูซึ่งมีทั้งเสียงที่น่ายินดีและเสียงไม่น่ายินดี สำรวมทางจมูก เป็นการสำรวมทางกลิ่นที่จะมาสัมผัสประสาททางจมูก การสำรวมทางลิ้นเป็นการสำรวมในการสัมผัสรสชาติของอาหาร การสำรวมทางกายเป็นการสัมผัสทางกายด้วยมีรสสัมผัสต่าง ๆ และการสำรวมทางใจเป็นการสัมผัสทางธรรมารมณ์หรือความรู้ทางอารมณ์ เพื่อให้เกิดความฉลาดรู้เท่าทันอารมณ์ เอาชนะตาในขณะเห็นรูป เอาชนะหูในขณะฟังเสียง เอาชนะจมูกในขณะดมกลิ่น เอาชนะลิ้นในขณะลิ้มรส เอาชนะกายในขณะถูกสัมผัส เอาชนะใจขณะรับอารมณ์ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายอันเป็นเหตุทำให้ใจเศร้าหมองเสีย เมื่อทำได้อย่างนี้ ชื่อว่า เจริญอินทรียสังวรศีล ฉะนั้น การสำรวมอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปัญหาหรือความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเราอย่างแน่นอน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.
ณัฏฐจิตต เลาหวีระ. “ศึกษาการพัฒนาอินทรียในอินทริยภาวนาสูตร”. วิทยานิพนธพุทธศาสตร
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2554.
พระกัมมัฏฐานาจริยะ พระปณฑิตาภิวงศ. รูแจงในชาตินี้. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ
บริษัท สหธรรมิก จํากัด. 2550.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). ตามรอยพระอรหันต์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). วิปสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท
ประยูรวงศพริ้นทติ้ง จำกัด. 2553.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ). วิปสสนากรรมฐาน ภาค 2 วาดวย มหาสติปฏฐาน.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพสหธรรมิก จำกัด. 2548.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 15.
กรุงเทพมหานคร :บริษัทสหธรรมิก จำกัด. 2552.
พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลและเรียบเรียงโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์
(อาจอาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค.แปลและเรียบเรียงสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจอาสภมหาเถร).
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด. 2547.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). วิปสสนานัย. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ กรุงเทพมหานคร :
ประยูรสาสานการพิมพ์. 2555.
สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. สัมมาทิฏฐิ. เชียงใหม:
โรงพิมพ์นันทพันธ. 2554.