วิริยินทรีย์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

Main Article Content

แม่ชีพิมพ์วรา ทิพยบุลสิทธิ์

บทคัดย่อ

วิริยินทรีย์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการเพียรพิจารณาอบรมปัญญาให้เกิด อันเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ เป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจที่จะให้เห็นแจ้งในนามรูปในไตรลักษณ์ เป็นการเจริญปัญญาจนรู้รูปนามตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตปรุงแต่งจิต ทำให้จิตรู้แจ้งตามความเป็นจริง และรู้ในเหตุผลของความเป็นจริง รู้ความเป็นจริงของสภาวะธรรมทั้งหลาย และยังเป็นการเพียรพิจารณาอย่างมีสติทำหน้าที่เผากิเลสให้เร้าร้อนทนอยู่ไม่ได้ใน กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำตามวงจรปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ จนละคลายความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง องค์ธรรม คือ ปัญญาเจตสิก ซึ่งมีหน้าที่รู้แจ้งตามความเป็นจริงของอารมณ์ และหลักธรรมที่เกื้อหนุนวิริยินทรีย์ คือ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เป็นธรรมอยู่ในฝ่ายเกื้อหนุนวิริยินทรีย์ และวิริยสัมโพชฌังคุปปาทธรรม คือ ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิริยสัมโพชฌงค์ (วิริยินทรีย์) อันเป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ประกอบแห่งการตรัสรู้อริยสัจ 4

Article Details

How to Cite
ทิพยบุลสิทธิ์ ช. (2024). วิริยินทรีย์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(1), 69–81. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1169
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร. พระอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอบุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จำกัด, 2556.

พระโมคคัลลานเถระ. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. แปลโดย พระมหาสมปอง มุทิโต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2557.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2561.