อธิปัญญาสิกขาในวิถีการบรรลุธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายอธิปัญญาสิกขาซึ่งเป็นวิถีแห่งการบรรลุธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท อธิปัญญาสิกขาในวิถีการบรรลุธรรม เส้นทางสู่การบรรลุแจ้ง เริ่มต้นด้วยการศึกษา การฟังธรรมจากผู้รู้ครูอาจารย์ และเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติตามลำดับในวิสุทธิ 7 โดยเบื้องต้น 1. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ (สีลวิสุทธิ)หรืออธิศีลสิกขา 2. ฝึกอบรมจิตให้บริสุทธิ์ (จิตวิสุทธิ) หรืออธิจิตสิกขา จนเกิดสมาธิ เป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนาภาวนา เข้าสู่การฝึกอบรมปัญญาหรืออธิปัญญาสิกขา 3. ความหมดจดแห่งทิฏฐิ (ทิฏฐิวิสุทธิ) ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง 4. ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย (กังขาวิตรณวิสุทธิ) 5. ความหมดจดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือไม่ใช่ทาง (มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ) เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย 6. ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ) ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้วเป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน 7. ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ (ญาณทัสสนวิสุทธิ) ความรู้ในอริยมรรค 4 หรือมรรคญาณ นั่นเอง เมื่อมรรคญาณเกิดแล้ว ผลญาณ ก็เกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้น ๆ ตามลำดับของแต่ละชั้นของความเป็นอริยบุคคล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร: เลี่ยงเชียง, 2550.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.
________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพครั้งที่ 47. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2559.
พระพุทธโฆสเถระ. วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). กรุงเทพมหานคร: ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง, 2546.
พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ (ภักดีแสน). “การพัฒนามนุษย์ตามแนวของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.
ปยุตฺโต)”. พุทธจักร. ปีที่ 70 ฉบับที่ 3 (มีนาคม 2559): 67.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). พจนานุกรม บาลี-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด, 2552.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมภาษาไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2554. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://dictionary.orst.go.th/ [15 สิงหาคม 2565].
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2560.