การตีความปฏิจจสมุปบาทสู่วิถีรู้แจ้งของนาคารชุน

Main Article Content

พระมหาธนากร ธนากโร (ลาภเอกอุดม)

บทคัดย่อ

พระนาคารชุนได้นำหลักทางสายกลางคือ ปฏิจจสมุปบาท มาเป็นเครื่องมือในการหยุดไหลตาม  สังสารแห่งความคิด (สังขตะ) เพื่อเข้าสู่ความเป็นปรมัตถ์ ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของการรู้แจ้งธรรม ตามหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นการอธิบายโลกสมมติซึ่งปกปิดด้วยภาษาสมมติเรียกชื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวสังขารคือความคิด ปรุงแต่ง โดยภาษาสมมติอิงภาพเขียนหรือจินตภาพภาษา เป้าหมายคือการนำจิตไปสู่การรู้สภาวะปรมัตถ์อย่างถูกต้องในฐานะที่เป็นจริงสูงสุด การบรรลุด้วยการรู้แจ้งความจริงนี้เป็นเรื่องของจิตที่รู้ตัวและดำรงอยู่กับความว่าง และมองโลกแห่งปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็น ซึ่งถือเป็นการพัฒนาจิตถึงซึ่งนิพพาน (คือความสิ้นสุดของสังขตะ) ทำให้หลักปรัชญาของพระนาคารชุนตั้งอยู่บนพื้นฐานของญาณวิทยาบริสุทธิ์ ไม่เกี่ยวข้องกับการภววาทหรือการปฏิบัติใด ๆ การกระทำทุกอย่างล้วนมาจากความคิด การรู้แจ้งความจริงแท้บริสุทธิ์คือความจริงปรมัตถ์ (ศูนยตา) จึงเป็นที่สุดของการหมดความสงสัย อยู่เหนือกิเลสทั้งหลาย เมื่อรู้แจ้งความจริงเหนือสมมติจึงดำรงอยู่ในโลกสมมติ ไม่แยกจากสมมติ และยังใช้ภาษาและโลกสมมติเพื่อนำไปสู่การรู้แจ้งความเป็นจริง เข้าถึงหรือประสบการณ์กับความว่างแห่งความว่าง ก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางปรัชญาแบบเอกภาพ (Unity) หรือความเป็นจริงหนึ่งเดียวแห่งพหุภาพทั้งหลาย และส่งผลให้เกิดนวัตกรรมทางด้านการพัฒนาจิต ให้เข้าสู่ความเป็นพุทธะด้วยเครื่องมือคือ ญาณวิทยาบริสุทธิ์ ผ่านวิธีการวิภาษวิธี ซึ่งเป็นการวิภาษในสามระดับคือ วิภาษกับคนอื่น (อารมณ์ภายนอก) วิภาษกับความคิดของตนเอง และวิภาษกับกิเลสคือความหลง ในเชิงสุนทรียะ ความรู้ที่สมบูรณ์ของปฏิจจสมุปาทะปรากฏ ให้เห็นในรูปของมลฑล ภาษาสัญลักษณ์แฝงในงานพุทธศิลป์ทุกสาขา ซึ่งเป็นมรดกทางจิตวิญญาณหนึ่งที่โดดเด่นของพระพุทธศาสนา

Article Details

How to Cite
ลาภเอกอุดม พ. ธ. (2024). การตีความปฏิจจสมุปบาทสู่วิถีรู้แจ้งของนาคารชุน. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(1), 26–41. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1164
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2535.

จำนงค์ ทองประเสริฐ. บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย เล่ม 1 ภาค 1-4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน. 2540.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ บัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบธิเบต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ไทยธิเบต. 2538.

วัชระ งามจิตรเจริญ. สมการความว่าง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ. 2554.

สุวิญ รักสัตย์. พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนบางกอกบล็อก. 2555.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. ปรัชญาอินเดีย พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ราชบัณฑิตยสถาน. 2532.

ธัญวัฒน์ โพธิศิริ. ชีวิตและผลงานของนักปราชญ์พุทธ. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม. 2549.

Anderson, Reb. The Third Turning of the Wheel: Wisdom of the Samdhinirmocana sutra (1st ed.). Berkeley, Calif.: Rodmell Press. 2012.

Garfield, J. L. Empty words, Buddhist Philosophy and Cross-Cultural Interpretation,

(Oxford University Press. 2002.

Nagarjuna. Nagarjuna’s Middle Way: Mulamadhyamikakarika. Trans.by Mark Siderits and Shoryu Katsura, Wisdom Pub.2013.

Siderits, Mark; Katsura, Shoryu. Nagarjuna's Middle Way: Mulamadhyamakakarika (Classics of Indian Buddhism). New Delhi: Wisdom Publications.2013.

Walleser, M., The Life of Nagarjuna from Tibetan and Chinese Sources, Madras: Nag Publishers, 1979:, Asian Education Services,1990.

Garfield, Jay L. (1994), "Dependent Arising and the Emptiness of Emptiness: Why Did

Nāgārjuna Start with Causation?", Philosophy East & West, 44 (2), doi:

2307/1399593, JSTOR 1399593.

Robinson, Richard H. 'Some Logical Aspects of Nagarjuna's System'. Philosophy East & West. Volume 6, no. IV (October 1957). University of Hawaii Press.

Thanissaro Bhikkhu (1997). SN 12.15 Kaccayanagotta Sutta: To Kaccayana Gotta (online) http://www.accesstoinsight.org/tipitaka/sn/sn12/sn12.01.than.html. (15 กันยายน 2564)