ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานกับการพัฒนาจิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในสติปัฏฐาน และ ศึกษาวิเคราะห์ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานกับการพัฒนาจิต หลักธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานในสติปัฏฐาน คือ การศึกษาข้อปฏิบัติ สำหรับฝึกอบรมพัฒนาปัญญาขั้นสูง เพื่อให้เกิดความรู้มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง อันจะทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งมวล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงรับรองว่าทางนี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อก้าวล่วงโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส เพื่อบรรลุธรรม และทำให้แจ้งพระนิพพาน วิเคราะห์ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานกับการพัฒนาจิต คือ การพิจารณาสภาวธรรมในธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยว่า สภาวธรรมแต่ละอย่างมีอยู่ในจิตตนหรือไม่ รู้ชัดในจิตว่าเป็นเพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น มีสติกำหนดรู้อยู่เสมอต่อเนื่องจนเห็นความไม่เที่ยงของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามลำดับ จนจิตเกิดปัญญารู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ สรุปว่า ผู้ศึกษาพึงตั้งสติพิจารณานิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปอย่างไร ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พรรณราย รัตนไพฑูรย์. “การศึกษาวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4: ศึกษาแนวการสอนของพระธรรมธีรราชมหามุนี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2544.
พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ. รู้แจ้งในชาตินี้ (In This Very Life). พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2560.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557.
พระพุทธโฆสาเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. หลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์, 2550.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. แปลโดย พระคันธ-
สาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์, 2549.
_______. วิปัสสนาชุนี หลักการปฏิบัติวิปัสสนา (ฉบับสมบูรณ์). แปลโดย จำรูญ ธรรมดา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2553.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
_______. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.