คุณค่าศรัทธาต่อการพัฒนาชีวิต

Main Article Content

ธีร์ธวัช ภูมิประมาณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนามีความจำเป็นมากต่อการดำรงชีวิตของชาวพุทธ สอนให้บุคคลละความชั่วประพฤติความดี ศาสนิกชนของทุกศาสนาต้องมีหลักความเชื่อเป็นพื้นฐาน ศรัทธา หรือ ความเชื่อ เป็นการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาด้วยความมั่นใจ บุคคลมีศรัทธาจะให้ความสนใจ กฎเกณฑ์ หลักธรรมของศาสนานั้น ๆ อย่างมีเหตุมีผล ใช้ปัญญาในการพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต อย่างมีประสิทธิภาพอันก่อให้เกิดประสิทธิผลทั้งต่อตนเองและส่วนรวม พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่อง บุญ-บาป เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อเรื่องอนิจจัง เชื่อเรื่องการไม่จองเวร เชื่อเรื่องคนเราเกิดมาเท่าเทียมกัน แต่ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้นับถือพุทธศาสนาไม่สามารถเข้าใจคำสอนเรื่องความศรัทธาตามหลักพุทธศาสนา คือชาวพุทธส่วนใหญ่มักจะเข้าใจกันว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เชื่อในคำสอนของพระองค์โดยไม่ต้องลังเลสงสัย และเชื่อกันว่าคำสอนที่บันทึกอยู่ในตำราพระไตรปิฎกทั้งหมดนั้นเป็นคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ซึ่งนี่เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง แต่ศรัทธาตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ใช่การบังคับให้เชื่อแบบขาดเหตุผล จึงทำให้ชาวพุทธตระหนักถึงความสำคัญเลื่อมใสศรัทธา ศรัทธาของชาวพุทธมี ๔ อย่าง คือ กัมมศรัทธา คือ เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรมเชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง วิปากศรัทธา คือเชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง กัมมัสสกตาศรัทธาคือเชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของจะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน และตถาคตโพธิศรัทธาคือเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

Article Details

How to Cite
ภูมิประมาณ ธ. (2024). คุณค่าศรัทธาต่อการพัฒนาชีวิต. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(2), 45–65. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1108
บท
บทความวิชาการ

References

ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), คู่มือการศึกษา อภิธรรม ปริจเฉทที่ ๑ จิตปรมัตถ์, พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๓๗), หน้า ๕.

พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์, หน้า ๑๒๖.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, พิมพ์ครั้งที่ ๓๒, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๕๕), หน้า ๑๗๖.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย, หน้า ๑๖๗, ๑๘๗–๑๘๘, ๑๙๑.

พระพุทธโฆสเถระ, คัมภีร์วิสุทธิมรรค, แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร), พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นติ้ง จำกัด, ๒๕๔๗), หน้า ๗๗๔.

พระมหาสุพัฒน์ กลฺยาณธมฺโม, “พระพุทธเจ้า: บทบาทและเจ้าหน้าที่ในฐานะพระบรมครู”,

วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕), หน้า ๔๐.

พระราชเวที (สมพงษ์ พฺรหฺมวํโส), บรรณานุกรมสัททาวิเสสวิคคหะ, (กรุงเทพมหานคร: ประดิพัทธ์, ๒๕๓๖), หน้า ๑๒๗.

พุทธทาสภิกฺขุ, ศรัทธาความเชื่ออย่างพุทธมามกะ, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://nooknanclub. net/thread-6553-1-1.html [๑๑ กันยายน ๒๕๖๕].

รุ่งนภา กิจรัตนา, “ศรัทธากับการหลุดพ้นในพระพุทธศาสนาเถรวาท”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๒), หน้า ก.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๔๑, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, ๒๕๖๑), หนา ๑๔๐.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,

หน้า ๑๔๐, ๑๕๖, ๑๘๒.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์,

หน้า ๑๕๖, ๑๙๐, ๒๗๙.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สารานุกรมพระพุทธศาสนา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙), หน้า ๕๒๙.

สุจินต์ บริหารวนเขตต์, ปรมัตถธรรมสังเขป จิต ตสังเขป และภาคผนวก, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์, ๒๕๕๓), หน้า ๒๒๕.