หลักสัมมาชีพในการดำเนินชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า หลักสัมมาชีพ เป็นมรรคองค์ที่ 5 ในอริยมรรค หมายถึง การเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ คือ เว้นมิจฉาอาชีวะ ประกอบสัมมาอาชีวะ คือ 1) การเลี้ยงชีพชอบทางกาย ได้แก่ เว้นจากการลักขโมย ทุจริต คดโกง เว้นจากอบายมุข เว้นจากมิจฉาวณิชชา 2) การเลี้ยงชีพชอบทางวาจา ได้แก่ ไม่โกหกหลอกลวงเลี้ยงชีพ ไม่พูดส่อเสียดเลี้ยงชีพ ไม่พูดคำหยาบเลี้ยงชีพ ไม่พูดเพ้อเจ้อเลี้ยงชีพ 3) การเลี้ยงชีพชอบทางใจ ได้แก่ ไม่โลภอยากได้ทรัพย์คนอื่นเลี้ยงชีพ ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่นเลี้ยงชีพ ไม่คิดเอาเปรียบคนอื่นเลี้ยงชีพ การเลี้ยงชีพชอบทางใจจัดเป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นต้นตอให้การดำเนินชีวิตภายนอกเป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรม การเลี้ยงชีวิตชอบทางกายและวาจาที่ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน และไม่ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย จึงเป็นผลลัพธ์ทางกระทำที่มีการเลี้ยงชีพชอบทางใจเป็นเหตุ หลักสัมมาชีพจึงเป็นหลักการดำเนินชีวิตในทางที่ชอบของบุคคลทั่วไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร). คู่มือการฟังพระอภิธรรมเล่ม 3 ปริเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหวิภาค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2542.
พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (ประเสริฐ มนฺตเสวี). วิปัสสนาที่ไม่ถูกเขียนไว้ในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2557.
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก าณสิทฺธิ ป.ธ. 9). วิปัสสนากรรมฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์ พริ้นติ้ง จำกัด, 2554.
พระปลัดชวาล ชินสโภ (ชินสภเถระ). พระธรรมจักรเทศนาฎีกา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, 2555.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพ็ทแอนโฮม จำกัด, 2535.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ) และพระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปปสโม). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2551.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
________. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.