ทุกขเวทนาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระจักรพงค์ ปิยธมฺโม (ไหมเพชร)

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งวิเคราะห์ ทุกขเวทนาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ทราบว่า ทุกขเวทนาบ่งถึงสภาพธรรมที่มีอาการทนได้ยากทางกาย ทุกขเวทนาที่ปรากฏในหลักธรรมต่าง ๆ มีใจความที่แตกต่างกัน ทุกขเวทนาโดยทั่วไปหมายถึงความทุกข์ที่เป็นอาการเวทนาทางกาย ทุกขเวทนาจึงเป็นอาการของทุกข์อย่างหนึ่งของทุกข์ในไตรลักษณ์ คือ ทุกขตา หรือสภาพเป็นทุกข์ ซึ่งมีความหมายแคบที่สุดของทุกข์ เพราะเกิดขึ้นได้ทั้งในพระอริยบุคคลและปุถุชน ต่างจากทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท หรือทุกข์ในอริยสัจ 4 เพราะแม้พระพุทธเจ้าก็ทรงข่มทุกขเวทนานี้ด้วยความเพียร ทุกขอริยสัจเป็นปริญญากิจในอริยสัจ 4 ของปุถุชนและพระอริยบุคคลก่อนจะบรรลุพระอรหันต์ นอกจากนี้ ทุกขเวทนาที่ประกอบไปด้วยอุปทานขันธ์ 5 คือ ทุกขอริยสัจ ดังนั้น ทุกขเวทนาจึงไม่ใช่ทุกขอริยสัจ เพราะเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในการกำหนดรู้ ส่วนทุกขเวทนาในปฏิจจสมุปบาทมีความหมายรวมถึงเวทนา โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสะด้วย ดังนั้น ทุกขเวทนาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา แม้จะมีความหมายโดยนัยสังเขปหรือโดยนัยพิศดารแตกต่างกัน แต่พระพุทธองค์ก็มุ่งสอนไปที่การกำหนดรู้ทุกขอริยสัจ และนำไปสู่การแสวงหาความพ้นไปจากทุกขเวทนาด้วยการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐาน 4 คือ กำหนดรู้ทุกขเวทนาโดยปราศจากอุปาทานขันธ์ 5 จนแทงตลอดอริยสัจ 4 ได้ ดังนั้น การกำหนดรู้ในทุกขอริยสัจจึงหมายรวมถึงการกำหนดรู้ทุกขเวทนาด้วย อันเป็นกิจในอริยสัจ 4 ข้อแรก เมื่อกำหนดรู้ทุกขเวทนา จิตย่อมยอมรับว่าทุกขเวทนามีสภาพเกิดดับ เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย หรือตามผัสสะที่กระทบตามหลักปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทยวาร แล้วย่อมนำไปสู่ความเห็นแจ้งในอริยสัจ 4 มีสัมมาทิฏฐิแล้วละอวิชชาได้จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน

Article Details

How to Cite
ไหมเพชร) พ. ป. (2024). ทุกขเวทนาในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 1(2), 15–31. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1086
บท
บทความวิชาการ

References

จำนงค์ ทองประเสริฐ, ศาสตราจารย์ (พิเศษ). ภาษไทยไขขาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา, 2528.

พระกัมมัฏฐานนาจริยะ พระปัณฑิตาภิวงศ์. รู้แจ้งในชาตินี้. แปลโดย พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2552.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2559.

_________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 41. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2558.

พระพุทธโฆสเถระ. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2554.

พระภัททันตะอาสภะมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานจริยะ. 100 ปี อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2554.

พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). ธัมมจักกัปปวัตนสูตร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คัมภีร์วิสุทธิมรรค ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555.

_________. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารธรรมจักษุ. ปีที่ 99 ฉบับที่ 10. (กรกฎาคม 2558).