รูปแบบนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสืบสานมรดกพระพุทธศาสนาในบริบทยุคทวารวดี

ผู้แต่ง

  • Sovanna Hoeurn มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูโสภณปฐมาภรณ์ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
  • พระพัฒนวัชร์ ญาณสิริ (พูลสวัสดิ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประพันธุ์ ศุภษร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มานิตย์ เฟื่องผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์, พระพุทธศาสนา, ทวารวดี, มรดกทางวัฒนธรรม, การเผยแผ่ศาสนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในบริบทยุคทวารวดี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ในการสืบสานมรดกพระพุทธศาสนาในบริบทยุคทวารวดี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลผ่านการศึกษาวรรณกรรม เอกสารทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาพระพุทธศาสนา โบราณคดี วัฒนธรรม และการสื่อสารสร้างสรรค์ 12 รูปคน รวมถึงการสังเกตและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงบริบท

          ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดีสามารถจำแนกได้เป็น 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในภูมิภาคสุวรรณภูมิ ลักษณะของพระพุทธศาสนาในยุคนั้น ศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สะท้อนอิทธิพลพุทธศิลป์ และแนวคิดค่านิยมในวิถีชีวิตที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนา สำหรับรูปแบบนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เป็นการบูรณาการองค์ความรู้กับเทคโนโลยีดิจิทัลในลักษณะของสื่อผสม ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้อย่างน่าสนใจ เข้าถึงง่าย เหมาะสมกับยุคสมัย และกระตุ้นการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบสื่อที่ให้ความรู้ควบคู่กับคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม สะท้อนเอกลักษณ์ของพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดีอย่างมีความหมาย ผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการผลิตสื่อทางพระพุทธศาสนาในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการเผยแผ่และสืบทอดพระพุทธศาสนาในบริบทปัจจุบัน

References

พระครูพิศาลบุญญากร (เฟื่อง สมบูญบัติ). (2565). นวัตกรรมในการพัฒนาสื่อเพื่อสืบสารพระพุทธศาสนาในยุคทวารวดี. วารสารนวพุทธศาสตร์, 1(1), 13–24.

เพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย, & ภัทรกุล ศิลปะรัตน์. (2566). ทวารวดี: เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสารพุทธมัคค์, 8(2), 278–287.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2547). ศิลปะทวารวดี: วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

คณะกรรมการการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. (2564). แผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563–2565). กรุงเทพมหานคร: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

พงศ์พันธ์ อนันต์วรณิชย์. (2564). นวัตกรรม–สื่อ (Media–Innovation): การสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

Hoeurn, S., พระครูโสภณปฐมาภรณ์, ญาณสิริ (พูลสวัสดิ์) พ. ., ศุภษร ป. ., & เฟื่องผล ม. . (2025). รูปแบบนวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์เพื่อสืบสานมรดกพระพุทธศาสนาในบริบทยุคทวารวดี. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 4(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/2265