การประเมินความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้รูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวม ในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กฤตวิทย์ ละอองศิริวงศ์ -

คำสำคัญ:

โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG, พื้นที่นำร่องต้นแบบ, ตำบลทุ่งลูกนก

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบตำบลทุ่งลูกนก และ 2) ประเมินผลรูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนและผู้แทนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกแบบเจาะจงและการอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ

     ผลจากการวิจัยพบว่า 1) ตำบลทุ่งลูกนก มีอาชีพเลี้ยงโคนมและทำการเกษตรเป็นหลัก และพบปัญหาสำคัญ คือ ต้นทุนค่าอาหารและค่าปุ๋ยสูงขึ้น และยังขาดระบบหมุนเวียนทรัพยากรในพื้นที่ โดยองค์ความรู้ที่สำคัญจากการลงมือปฏิบัติในช่วงที่ผ่านมา คือ การแปรรูปของดี ได้แก่ น้ำตาลอ้อย และแปรรูปของเสีย ได้แก่ ปุ๋ยหมักจากมูลโคนม รวมถึงมีการทดลองในแปลงตัวอย่างและส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ 2) ประชาชนมองว่าแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ง่ายต่อการนำไปใช้ และสร้างรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นประโยชน์ในอนาคต โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรให้ความสำคัญ บรรจุเป็นโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความยั่งยืน อาทิ การพัฒนาผลิตภาพทางด้านเกษตรปลอดภัย การแปรรูปวัตถุดิบชุมชน ตลอดจนการสนับสนุนช่องทางการตลาดและมาตรฐานผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2548). แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. บางกอกบล๊อค.

กุลทัต หงส์ชยางกูร และ ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2565). การสร้างและการบริหารเครือข่าย. http://hsmi2.psu.ac.th/upload/forum/paper_1598_5f69ce9304e915f69ce.pdf/

จิตรา พงษ์พานิช. (2564). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. [รายงาน การศึกษา]. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

ถิรพร สิงห์ลอ. (2564). เมื่อโลกต้องการโมเดลเศรษฐกิจใหม่ ไทยจึงมี ‘BCG’ (Bio Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติปี 2564. https://www.sdgmove.com/

ศักดา อารุณี. (2564). การพัฒนาคืนสู่ความสมดุลอย่างยั่งยืน : มิติการพัฒนาและความสัมพันธ์เชิงพื้นที่. https://www.worldtownplanningday.com/articles/

สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร. (2566). การพัฒนาเชิงพื้นที่. https://www.nstda.or.th/agritec/area-based-approach/

สถาบันการพัฒนาชุมชน. (2566). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบระบบเศรษฐกิจแบบองค์รวมในการพัฒนาพื้นที่นำร่องต้นแบบ ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. สถาบันการพัฒนาชุมชน.

องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งลูกนก. (2566). ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล. https://www.thungluknok.go.th/

Deming, W.E. (2004). Plan Do Check Act (PDCA). http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

Kemmis, S., & Wilkinson, M. (1998). Participatory action research and the study of practice. In Atweh, B., Kemmis, S., & Weeks P. (Eds.), Action research in practice: Partnerships for social justice in education. Routledge.

Koch, T., & Kralik, D. (2006). Participatory Action Research in Health Care. Blackwell Publishing Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31