ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีด ในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์

Main Article Content

จีรพรรณ ซ่อนกลิ่น
มกรารัตน์ หวังเจริญ

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์มีส่วนสำคัญในการเพิ่มอัตราการป่วยและการเสียชีวิตของทั้งมารดาและทารก ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางจะต้องได้รับการดูแลและคําแนะนําที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในครรภ์ งานวิจัยนี้จึงได้จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อเน้นความสำคัญของการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง การรับประทานยาบำรุงครรภ์ และตระหนักถึงอันตรายต่อแม่และลูกถ้าเกิดภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีดในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ เนื้อหาของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านตรวจสอบด้านเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และผ่านทดลองใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์จำนวน 30 คน วิธีการศึกษากึ่งทดลองนี้ออกแบบมาเพื่อประเมินประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีดในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์จำนวน 50 คน ที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์ โดยคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ ที่มีระดับฮีมาโตคริตระหว่าง 33 - 35.9 vol% และติดตามวัดระดับฮีมาโตคริตที่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ วิเคราะห์ประสิทธิผลโดยใช้สถิติทดสอบ Paired t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ p-value < 0.05 ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถป้องกันภาวะโลหิตจางในระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่า p-value น้อยกว่า 0.01

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ซ่อนกลิ่น จ., & หวังเจริญ ม. (2025). ประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่อการลดการเกิดภาวะซีด ในกลุ่มเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์. วารสารนวัตกรรมวิชาการ, 1(1), 75–86. https://doi.org/10.14456/aij.2025.6
บท
บทความวิจัย

References

Beckert, R. H., Baer, R. J., Anderson, J. G., Jelliffe-Pawlowski, L. L., & Rogers, E. E. (2019). Maternal Anemia and Pregnancy Outcomes: A Population-Based Study. Journal of Perinatology, 39(7), 911–919. https://doi.org/10.1038/s41372-019-0375-0.

Bureau of Nutrition, Department of Health. (2022). Guidelines for Control and Prevention of Anemia. Ministry of Public Health. (In Thai).

Camaschella, C. (2015). Iron-Deficiency Anemia. The New England Journal of Medicine, 372(19), 1832–1843. https://doi.org/10.1056/NEJMra1401038.

Chung, H., Lee, S., & Park, J. (2022). Digital Health Education Tools for Anemia Prevention in Pregnancy: A Randomized Controlled Trial. Journal of Maternal Health, 29(4), 300-308.

Dale, E. (1969). Audiovisual method in teaching (3rd ed.). Holt, Rinehart and Winston.

Department of Health. (2021). Health Promotion and Environmental Health Surveillance Annual Report 2021. Ministry of Public Health.

Garzon, S., Cacciato, P. M., Certelli, C., Salvaggio, C., Magliarditi, M., & Rizzo, G. (2020). Iron Deficiency Anemia in Pregnancy: Novel Approaches for an Old Problem. Oman Medical Journal, 35(5), e166. https://doi.org/10.5001/omj.2020.108.

James, A. H. (2021). Iron Deficiency Anemia in Pregnancy. Obstetrics & Gynecology, 138(4), 663–674. https://doi.org/10.1097/AOG.0000000000004559.

Juul, S. E., Derman, J., & Auerbach, M. (2019). Perinatal Iron Deficiency: Implications for Mothers and Infants. Neonatology, 115(3), 269–274. https://doi.org/10.1159/000495978.

Khampila, W., Thitiyarnviroj, B., Raksee, S., Manadee, P., Tubsai, T., & Singsiricharoenkul, S. (2022). Caring for Pregnant Women with Iron Deficiency Anemia: The Challenging Role of Nurses. Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 30(2), 134–142. (In Thai)

Lord, J., Borkowski, N., & Weech-Maldonado, R. (2021). Patient Engagement in Home Health: The Role of Health Literacy and “Ask Me Three®". Home Health Care Management & Practice, 33(3), 202-209. https://doi.org/10.1177/1084822321996623.

Smith, C., Teng, F., Branch, E., Chu, S., & Joseph, K. (2019). Maternal and Perinatal Morbidity and Mortality Associated with Anemia in Pregnancy. Obstetrics & Gynecology, 134(6), 1234-1244. https://doi.org/10.1097/AOG.0000000000003557.

Thomas, R. (2025). Enhancing Patient Understanding and Engagement Through the Ask Me 3 Teach-Back Method. [Doctoral dissertation, Walden University]. Walden Dissertations and Doctoral Studies. https://scholarworks.waldenu.edu/dissertations/16982.

Viseskul, N. (2019). Development of Instructional Media in Nursing Education: Teaching Concepts and Application. Chotana Print. (In Thai)

World Health Organization. (2022). Anaemia. WHO. https://www.who.int/health-topics/anaemia#tab=tab_1.