จริยธรรมการตีพิมพ์

บทนำ
วารสารนวัตกรรมวิชาการ (Academic Innovation Journal) ได้กำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ (Publication Ethics) สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมของคณะกรรมการจริยธรรมการตีพิมพ์ (Committee on Publication Ethics : COPE) และประกาศศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง การประเมินด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2566 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนี้

จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)
1. ดำเนินงานวารสารตามเกณฑ์ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre : TCI)
2. พิจารณาบทความเบื้องต้นตามขอบเขตของวารสาร รูปแบบการเขียนบทความและการอ้างอิงที่ถูกต้อง
3. ตรวจสอบการตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) การคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) รวมถึงการคัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism)
4. กำกับและติดตามกระบวนการประเมินคุณภาพของบทความแต่ละเรื่องอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ หลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่ตรงกับสาขาวิชาของบทความ
5. ตัดสินผลการพิจารณาคุณภาพของบทความจากผลการประเมิน จากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความครบ 2 ท่าน
   5.1 การรับตีพิมพ์ (Accepted Submission) เมื่อผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน กรณีที่ผู้ทรง 1 ท่าน ให้ผ่านและผู้ทรงอีก 1 ท่านไม่ให้ผ่าน จะต้องส่งบทความไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 3 พิจารณาบทความ และการรับตีพิมพ์จะต้องผ่านอย่างน้อย 2 ท่าน
   5.2 การปฏิเสธ (Rejected Submission) จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาปฏิเสธการตีพิมพ์ทั้ง 2 ท่าน
6. กำกับและติดตามคุณภาพของบทความก่อนเผยแพร่ผ่านระบบ ThaiJo และจัดทำเล่ม
7. จัดทำวารสารให้เผยแพร่ตรงตามกำหนดเวลาออกของวารสารอย่างเคร่งครัด

จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)
1. พิจารณาเลือกประเมินบทความที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับตน พิจารณาเลือกประเมินบทความที่ตรงตามสาขาวิชาหรือมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาของบทความ และพิจารณาระยะเวลาในการประเมินให้สามารถนำส่งตามระยะเวลาที่วารสารกำหนด
2. ประเมินคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัยตามหลักทางวิชาการ
3. ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและเพื่อการพัฒนาวงการวิชาการ
4. ประเมินบทความและนำส่งผลการประเมินตามระยะเวลาที่กำหนด
5. สรุปผลการประเมินคุณภาพบทความ ดังนี้
   5.1 รับตีพิมพ์บทความโดยไม่ต้องแก้ไข (Accept Submission)
   5.2 แก้ไขบทความเล็กน้อยโดยให้บรรณาธิการพิจารณาต่อ (Revisions Required)
   5.3 แก้ไขบทความมากโดยขอให้ส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง (Resubmit for Review)
   5.4 ไม่รับตีพิมพ์บทความ (Decline Submission)

จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)
1. ตรวจสอบบทความกับขอบเขตของวารสาร จัดรูปแบบการเขียนบทความ การอ้างอิงที่ถูกต้องตามที่วารสารกำหนด
2. ผู้นิพนธ์จะต้องไม่ตีพิมพ์ซ้ำ (Duplications) ไม่เขียนข้อมูลการวิจัยซ้ำซ้อน (Similarities) ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ไม่คัดลอกผลงานของตนเอง (Self-Plagiarism)
3. บทความที่จัดส่งจะต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาจากวารสารหรืองานประชุมวิชาการอื่น
4. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือบทความฉบับเต็มในวารสารหรือเอกสารสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ ยกเว้นเฉพาะฉบับรวมบทคัดย่อ
5. การจัดส่งบทความจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานของวารสาร
6. ขอหนังสือตอบรับหลังจากบทความได้รับการรับตีพิมพ์ (Accepted Submission) เท่านั้น

หมายเหตุ: แปลและปรับปรุงข้อมูลจาก Committee on Publication Ethics (https://publicationethics.org) ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (https://tci-thailand.org)