การพัฒนาเว็บไซต์ “EatRand” เพื่อแนะนำเมนูอาหาร

Main Article Content

เอื้อการย์ บินสันเทียะ
ศุภารมย์ พงษ์จะโปะ
สิรีธร ทูขุนทด
สิริลักษณ์ บริรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซด์ช่วยในการตัดสินใจในการรับประทานอาหาร ในรูปแบบการสุ่มเลือกเมนูอาหาร และแนะนำเมนูอาหาร มุ่งหวังให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้ใช้งานในการตัดสินใจเลือกอาหารเมื่อต้องการรับประทาน แต่ยังมีความลังเลถึงรายการอาหารที่จะรับประทานในแต่ละมื้อ โดยเว็บไซต์นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายและสะดวกสบาย ผู้ใช้งานสามารถเลือกประเภทของอาหาร เช่น ข้าว เส้น และเนื้อสัตว์ จากนั้นระบบจะทำการสุ่มเมนูอาหารที่เหมาะสมให้ และยังมีส่วนของแนะนำร้านอาหาร โดยร้านค้าที่แนะนำจะเป็นข้อมูลของร้านที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา และผู้ใช้งานก็เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกในงานวิจัยนี้ด้วยวิธี การเลือกแบบเจาะจง งานวิจัยนี้ มุ่งหวังเพื่อเพิ่มทางเลือกรายการอาหาร และร้านอาหาร ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน และยังช่วยให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้าขนาดเล็ก ที่อาจยังไม่มีคนรู้จักมากนัก ยังถือเป็นการพัฒนาชุมชนพื้นที่เล็ก ๆ อีกด้วย การพัฒนาเว็บไซต์นี้ใช้ซอฟต์แวร์ในการพัฒนา คือ Visual Studio Code, CSS, Java Script, PHP, phpMyAdmin,  MySQL, Figma และ Google Maps เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก ทั้งนี้โครงการได้ถูกทดสอบและปรับปรุงเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์สามารถใช้งานได้ดีและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการประเมินพบว่า คุณภาพของเว็บไซต์ EatRand เพื่อแนะนำเมนูอาหาร มีคุณภาพโดยรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 4.67 เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพในแต่ละด้านพบว่า คุณภาพตัวอักษรมีคุณภาพค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ 4.96 และคุณภาพด้านการแสดงผลหน้าจอมีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด คือ 4.36 ดังนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ยังคงต้องพัฒนาด้านการแสดงผลหน้าจอให้มีความชัดเจน และง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บินสันเทียะ เ., พงษ์จะโปะ ศ., ทูขุนทด ส., & บริรักษ์ ส. (2025). การพัฒนาเว็บไซต์ “EatRand” เพื่อแนะนำเมนูอาหาร. วารสารนวัตกรรมวิชาการ, 1(1), 30–46. https://doi.org/10.14456/aij.2025.3
บท
บทความวิจัย

References

Duckett, J. (2011). HTML and CSS: Design and Build Websites. John Wiley & Sons.

Phongsupat, N. (2018). A Study on Food Application Market and Consumer Behavior Regarding Food Application Choice. [Master's Thesis, Thammasat University]. Thammasat University Intellectual Repository. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:147518. (In Thai).

Promteerawong, D., & Hiranphan, P. (2020). Mobile Application for Searching and Randomizing Restaurant. [Bachelor’s Project, Chulalongkorn University]. Chulalongkorn University Intellectual Repository. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79306. (In Thai).

Staiano, F. (2023). Designing and Prototyping Interfaces with Figma: Elevate Your Design Craft with UX/UI Principles and Create Interactive Prototypes (2nd ed.). Packt Publishing.

Thomson, L, & Welling, L. (2016). PHP and MySQL Web Development (5th ed.). Pearson India.

Tunpanit, A., Bunnoon, P., Suwanno, P., & Madsa, T. (2022). The Development of Specialty Food Application for Hat Yai: A Case Study. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports, 25(3), 34-44.

Unilever Foods Solutions. (2023). Future Menu 2023. Unilever Foods Solutions, Thailand. https://www.unileverfoodsolutions.co.th/th/chef-inspiration/trendwatch/future-menus-2023.html.