การเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

พระใบฎีกาศักดิ์ติชัย สิริมงฺคโล เชื้อทอง

บทคัดย่อ

การเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา คือ การมีเพียรพิจารณากำหนดเผากิเลสให้เร่าร้อน (อาตาปี) อบรมปัญญาญาณให้เกิดขึ้น (สัมปชาโน) และประกอบด้วยสติที่ใช้กำหนด (สติมา) ได้แก่ การพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และการพิจารณาธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพื่อความรู้แจ้งรูป-นาม ตามความเป็นจริง ให้รู้แจ้งในความเป็นไตรลักษณ์ว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นสิ่งที่ทุกข์ (ทุกขัง) และเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตปรุงแต่งจิต รู้เหตุ รู้ผล รู้ความเป็นจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย จนสามารถละความยึดมั่นถือมั่นที่เกิดจากอำนาจของกิเลสทั้งหลายมาครอบงำ เกิดเป็นปัญญาญาณ บรรลุมรรค ผล และพระนิพพาน ได้ในที่สุด

Article Details

How to Cite
สิริมงฺคโล เชื้อทอง พ. (2025). การเจริญสติปัฏฐาน 4 เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา: หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 2(2), 77–92. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/968
บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

________. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร จิตวณฺโณ). การพัฒนาจิต. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด, 2549.

พระโมคคัลลานเถระ. คัมภีร์อภิธานวรรณนา. แปลโดย พระมหาสมปอง มุทิโต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงศ์พริ้นท์ติ้ง จำกัด, 2557.

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ 9 เล่ม 1 สมถกรรมฐานทีปนี. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, 2554.