พุทธทัศนะต่อผลกระทบของการดื่มสุรา หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่า สุราเป็นสิ่งที่ให้โทษต่อสุขภาพร่างกายและเป็นพิษภัยต่อสังคมอย่างมหันต์ กล่าวคือเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดการเสียสติ ขาดการควบคุมตนเอง เป็นเหตุก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมและการกระทำความผิดต่าง ๆ สุรา เป็นเครื่องดื่มที่มีสารเอทิลแอลกอฮอล์ที่สำคัญและมีฤทธิ์ที่ให้ผลต่อระบบของประสาท เพราะว่าจะไปกดระบบประสาทส่วนกลางของร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ดื่มสุราในปริมาณที่เพียงพอหรือไม่มากเกินควร ย่อมจะทำให้ร่างกายเกิดความรู้สึกของการผ่อนคลาย แต่ถ้าเมื่อใดที่ดื่มอย่างหนักจะมีผลไปกดสมองและประสาทส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยโทษของการดื่มสุรานั้นมีตั้งแต่ขั้นเบาไปจนถึงขั้นรุนแรง คือทำให้เสียสภาพของการทรงตัว การพูดการจาไม่ชัดเจน หรือกระทั่งสุดท้ายทำให้เกิดการหมดสติได้ในที่สุด และการเสียจริตย่อมก่อให้เกิดความประมาทพลาดพลั้งกับชีวิตของตนเองและสามารถที่จะทำอันตรายให้เกิดแก่บุคคลอื่นได้โดยไร้สติ และยังเป็นโทษที่ส่งผลชาตินี้แล้ว ยังส่งผลวิบากข้ามภพข้ามชาติ แม้แต่เทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะช่วยได้ ยังเป็นหนทางแห่งความเสื่อมโภคทรัพย์ จากสมบัติที่พึงได้ในปรโลก จากนิพพานสมบัติ ฉะนั้นการดื่มสุรานั้นจึงเป็นบ่อเกิดของความประมาท ซึ่งเปรียบเสมือนผู้ที่ตายไปแล้ว คือผู้นั้นได้ตายจากกุศลความดีทั้งหลายทั้งปวง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
ธนิต อยู่โพธิ์. อานิสงส์ศีล ๕ บัญญัติสังคม. พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
นงนุช ใจชื่น และคณะ. สถานการณ์ ช่องว่างและโอกาสในการควบคุมการตลาดและการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๐.
ปัญญา สระทองตรง. ธรรมคดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา ๒๕๔๐.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. “การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก การดื่มแบบเมาหัวราน้ำและผลกระทบ จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์”. การวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.). ๒๕๕๓.
พระครูโสภณสุทฺธิธรรม (คูณ โสภโณ). “ศึกษาผลสัมฤทธิ์การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาการดื่มสุรา: ศึกษาเฉพาะกรณีวัดที่เข้าร่วมโครงการวัดปลอดสุรา อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๕.
พระสุชีพ วรญฃาโณ (อินทร์สำราญ). “การวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพสังคมด้วยการงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๕๘.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). วิถีแห่งชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมสภา ๒๕๔๕.
พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. ๒๔๙๓. (แก้ไขเพิ่มเติมถึงพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา. พ.ศ. ๒๔๙๓ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๖.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๓๗) พ.ศ. ๒๕๒๒”. ราชกิจจานุเบกษา ธันวาคม ๒๕๓๗.
พล้อย พรปรีชา. อบายมุข ๖. กรุงเทพมหานคร: สานักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ๒๕๓๐.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ๒๕๒๕. พิมพ์ครั้งที่ ๖ กรงเทพมหานคร:
อักษรเจริญทัศน์, ๒๕๓๙.
โศภิณสิริ ยุทธวิสุทธิ, อรัญญา บุญธรรม และคณะ, “การปรับพฤติกรรมการดื่มสุราในชุมชน”, วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๒ (มีนาคม - สิงหาคม ๒๕๕๙), ๑๖๐-๑๖๑.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. อธิบายธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๔.
สำนักงานสถิติแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ. ๒๕๖๔.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ. กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการ โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. ๒๕๕๑.
มัทนา พฤกษะริตานนท์. “ทิศทางการพัฒนาคุณภาพสุราชุมชน” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: อ้างในhttp://www.lab.excise.go.th/group1/spirit/stype.htm. สืบค้น ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย สำนักงานคณะกรรมการ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. โทษพิษภัยของสุรา และผลกระทบต่อสุขภาพทั้งตนเองและผู้ใกล้ชิด.สำนักงานส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์], แหล่งที่มา: อ้างใน http://www.a-dreamstudio.com. สืบค้น ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕.