การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทยเพื่อนำสู่ผลสัมฤทธิ์แบบซอฟพาวเวอร์” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย เพื่อเปรียบเทียบวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย และเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเอกสารด้วยเทคนิค 6’Cs และวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (Individual depth interview) กับพระวิปัสสนาจารย์ และนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา จำนวน 8 รูป/ท่าน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า
1) วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในสังคมไทย มี 5 สาย คือ 1. สายพุทโธ ใชัคำบริกรรมพุทโธ ควบคู่ไปลมหายใจ 2. สายพองยุบ ใช้สติระลึกรู้ที่อาการเคลื่อนไหวของท้อง 3. สายรูปนามใช้สติตามระลึกรู้ลักษณะอาการต่างๆ 4. สายสัมมาอะระหังใช้การเพ่งแสงสว่างและภาพนิมิต และ 5. สายอานาปานสติใช้การเจริญสติระลึกรู้ที่ลมหายใจเข้าออก
2) สายพุทโธ และสายสัมมาอะระหัง เป็นวิธีการปฏิบัติแบบสมถภาวนา ส่วนสายอานาปานสติ และสายพองยุบ เบื้องต้นเป็นวิธีการปฏิบัติสมถภาวนาและเบื้องปลายเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ส่วนสายรูปนาม เป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ทุกสายเป็นสติปัฏฐาน และได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามลำดับ
3) การพัฒนาวิธีปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมในสังคมไทย โดยใช้หลักการของการมีสติระลึกรู้ในทุกๆ อิริยาบถ และ เป็นผู้เจริญสติอย่างต่อเนื่องจนเกิดวิปัสสนาปัญญาจนถึงขั้นบรรลุมรรค ผล นิพพาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๕.
_________ พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๙.
_________. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ. ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ มหามงกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๓๔.
พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. ศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน ๕ สายในสังคมไทย. ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๑ ปี ๒๕๖๓.
พุทธทาสภิกขุ. อานาปานสติภาวนา เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: คณะธรรมทาน. ๒๕๑๖.
พระโสภณมหาเถระ(มหาสีสยาดอ). มหาสติปัฏฐานสูตร ทางสู่พระนิพพาน. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวันการพิมพ์. ๒๕๔๙.
พระมหาชิต ฐานชิโต. ดร. พระครูพิพิธวรกิจจานุการ. ดร.. การปฏิบัติและการสอบอารมณ์กรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย. โครงการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ๒๕๕๙.
พระครูปลัดสุวัฒนพุทธคุณ (ประมวน พานิช), การศึกษาวิเคราะห์พุทธญาณวิทยาในสติปัฏฐาน ๔. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔). บทคัดย่อ.
พระวิสันต ปสนฺนจิตฺโต (ปานเพ็ชร), ความสัมพันธระหวางการรับรูเรื่องสติปฏฐานกับการใชชีวิตประจําวันอย่างมีสติของผูเรียนครูสมาธิหลักสูตรวิทันตสาสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพสาขาที่ ๖๙ วัดศรีสุทธาวาส พระอารามหลวง จังหวัดเลย, วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ มกราคม - เมษายน ๒๕๖๕.
รุ่งทิพย์ เลิศนิทัศน์. การเปรียบเทียบรูปแบบ และวิถีการปฏิบัติภาวนาของพุทธศาสนิกชนในกรุงเทพฯ. วารสารวิจัยสังคม ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๒ (ก.ค.–ธ.ค. ๖๐).
พระราชญาณวิสิฐ, คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย, สัมมาอะระหัง, เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด. ๒๕๕๗.