การสร้างศรัทธาเพื่อให้เกิดปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอหลักธรรมศรัทธาที่ปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นบาทฐานนำไปสู่การลงมือปฏิบัติ อบรมจิตให้เกิดการพัฒนาทางปัญญา ศรัทธาหรือความเชื่ออยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เพื่อขจัดความหวาดกลัวต่อสิ่งต่าง ๆ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และสร้างความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ความศรัทธาในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจึงเกิดขึ้นไปตามเหตุปัจจัยแวดล้อมในแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในตัวบุคคล สิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งลี้ลับต่าง ๆ อาทิ ภูตผี การมีอยู่จริงของเทวดา มาร พรหม เรื่องไสยศาสตร์ เมื่อจิตเป็นนายกายเป็นบ่าว ความเชื่อจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมของบุคคล การผสมผสานความเชื่อโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องก็ย่อมนำไปสู่พฤติกรรม หรือ การปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล ก็ย่อมส่งผลให้พฤติกรรมและการปฏิบัติตนอยู่บนเส้นทางของความถูกต้อง เสมือนมีเข็มทิศนำทางอยู่เสมอ มีความเจริญก้าวหน้า เกิดความพัฒนาปัญญา ไม่หลงทางโดยง่าย ทั้งนี้ความเชื่อที่มีอยู่โดยทั่วไปจะแตกต่างจากความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา เพราะความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนาล้วนเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา คือ มีความเป็นเหตุและเป็นผลมารองรับ ในขณะที่ศรัทธาความเชื่อทั่วไปไม่ประกอบด้วยเหตุผลจึงมักส่งผลให้เกิดเป็นความงมงาย
การสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญามีปัจจัยหลัก 2 ประการ ได้แก่ 1) ปรโตโฆสะ การได้สดับจากบุคคลอื่น 2) โยนิโสมนสิการ การพิจารณาในใจโดยแยบคาย พัฒนาสู่เหตุผลตามหลักในอริยสัจจ์ 4 และการใช้หลักไตรสิกขาฝึกอบรมพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป ความเชื่อในพระพุทธศาสนาด้วยหลักศรัทธา 4 จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้สามารถเข้าถึงความเชื่ออย่างเป็นเหตุเป็นผลไปตามลำดับ เป็นแนวทางไปสู่การอบรมจิตให้เกิดปัญญาได้ ด้วยแรงแห่งศรัทธาย่อมเกิดความเพียรผลักดันให้การลงมือปฏิบัติและถึงที่สุดคือความพ้นทุกข์ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระครูสมุห์อินทร์วงศ์ อิสฺสรภาณี (วงค์ไชยคำ). “พระเมตไตยพุทธเจ้า: แนวคิด ความเชื่อและอิทธิพลต่อสังคมไทย”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 25. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.
_________. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 27. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์, 2556.
_________. พุทธธรรม ฉบับเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 24. นนทบุรี: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, 2553.
พระมหาดนัย ธมฺมาราโม. “วิเคราะห์เรื่องศรัทธาในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสาร มจร.
สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (ฉบับพิเศษ) (เมษายน-มิถุนายน 2560).
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
_________. อรรถกถาภาษาไทย ชุด 55 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย, 2553.