การบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลยุค 4.0

Main Article Content

พระสราวุธ ฐิตสีโล (ปานทับทิมทอง)

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทุกหน่วยองค์กรของเอกชนและรัฐในเกือบทุกประเทศได้นำธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้เป็นหลักการบริหารจัดการ แม้มีระบบธรรมาภิบาลได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมแต่ถึงกระนั้นก็ยังพบว่า ในด้านการปฏิบัติจริง ยังมีการทุจริต การบริหารด้วยหลักคุณธรรมที่ยังมีน้อยและไม่มีประสิทธิผล เป็นเพราะว่า หลักคุณธรรมเป็นเรื่องของคุณภาพจิตใจที่ดีงามและมองเห็นประโยชน์ของตนเอง ผู้อื่นและสังคมอย่างบริสุทธิ์ใจ ซึ่งการพัฒนาจิตให้มีคุณธรรม ดีงามต้องมีความรู้ เข้าใจและการตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรมอย่างลึกซึ้ง พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาจิตใจ โดยมองว่าความดีว่าเป็นจิตที่เป็นฝ่ายกุศล จิตซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก่อต่อเมื่อ 1) มนุษย์มีการฝึกฝนสติสัมปชัญญะ มีความรู้ตัวและสิ่งรอบข้างอย่างถูกต้อง 2) มีจิตใจเมตตา กรุณา เอื้ออาทรผู้อื่นและองค์กรเป็นนิตย์ คุณธรรมดังกล่าวต้องการการเรียนรู้ฝึกฝนจนแน่ใจได้ชัดด้วยตนเองและคนอื่นพิสูจน์ได้ สติสัมปชัญญะกั้นจิตจากมโนทุจริต ซึ่งโดยทั่วไปคนมักถูกปรุงแต่งด้วยอกุศลจิตคือโมหะจนทำให้เกิดความโลภและโทสะ เกิดความเห็นแก่ตัวจนกลายเป็นเหตุให้ทำทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ การมีเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขาย่อมทำให้จิตใจมีวุฒิภาวะ มีภาวะผู้นำด้วยคุณธรรม ส่งผลดีต่อตนเองคือ 1) มีจิตสงบนิ่งด้วยกุศลเสมอ มีความสุขในตัวและทำให้ผู้อื่นมีความสุข 2) ทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ ส่วนต่อผู้อื่นคือ 1) ทำให้เป็นที่รักเคารพ 2) การตัดสินใจมีความยุติธรรม มุ่งความดีงาม ความเจริญรุ่งเรือง 3) ทำให้เกิดความรักสามัคคีในองค์กร 4) แสดงออกต่อกันด้วยความรัก เคารพทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งจะเป็นผลทำให้ระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
ปานทับทิมทอง พ. ฐ. . (2024). การบริหารงานภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลยุค 4.0. วารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์, 1(2), 73–86. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/NVKS/article/view/1093
บท
บทความวิชาการ

References

เจริญ เจษฎาวัลย์. การตรวจสอบธรรมาภิบาล ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (Governance Audit Theory and Practice). นนทบุรี: บริษัท พอดี จำกัด, 2547.

ธีรยุทธ บุญมี. ธรรมรัฐแห่งชาติยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์

สายธาร, 2541.

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (Indicators of Good Governance). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2546.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. ธรรมรัฐ ธรรมราชา. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬา

ลงกรณมหาวิทยาลัย, 2542.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ธรรมนูญ: พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, 2545.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). การงานที่เป็นสุข, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2549.

_________. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2551.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ยั่งยืนธีระพล อรุณะกสิกร. ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิญญูชน, 2542.

สถาบันพระปกเกล้า. วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด, 2550.

สมพงษ์ ชูมาก. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ทศวรรษ 1990 และแนวโน้ม). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร:กองกลาง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, 2544.

เอเจอร์ แซม. ธรรมาภิบาลการปกครองที่โปร่งใสด้วยจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ น้ำฝน, 2545.