การสาธยายมนต์เพื่อให้เกิดสมาธินำสู่วิปัสสนาภาวนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์การสาธยายมนต์เพื่อให้เกิดสมาธินำสู่วิปัสสนาภาวนาโดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเรียบเรียงบรรยายเป็นเชิงพรรณนาเสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ แล้วแก้ไขตามคำแนะนำ จากการวิจัยพบว่า การสาธยายมนต์หรือสวดมนต์ทำวัตรมีประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนถือเป็นบุญกุศล กิจวัตรและการศึกษา การสาธยายหรือสวดมนต์นี้ไม่มีพุทธบัญญัติโดยเฉพาะ แต่เป็นสาวกจริยาพระอาจารย์หลายท่านได้รวบรวมเป็น “วัตร” บัญญัติรูปแบบเอาไว้ ถ้าทำได้จะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง แต่ไม่ทำไม่สวดก็ไม่มีโทษทางวินัย แต่จะไม่ได้กุศลจากการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย แต่มีโทษทางสังคมในหมู่สงฆ์ เพราะขาดกิจวัตร คือการร่วมสมัครสมานสามัคคีของหมู่คณะในอารามที่ตนอาศัย การทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น เป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยปริยาย และได้ฟังธรรมะจากพระโอษฐ์ที่ตรัสไว้ในบทสวดมนต์นั้น โดยมีข้อปฏิบัติกิจวัตร 10 มีสาธยายหรือสวดมนต์ และแสดงธรรม เป็นต้น กล่าวได้ว่าความฉลาดของสาวกจริยาพระอาจารย์แต่เก่าก่อนมีคุณูประการประมาณมิได้ การสาธยายมนต์ ถือว่าเป็นการกล่าวถึงพุทธวจนะของพระพุทธเจ้า ที่ทรงใช้การเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผู้สาธยาย หรือผู้ฟังทั้งมนุษยโลก เทวโลก และพรหมโลก ต่างก็อนุโมทนาในการสาธยายที่มีพลานุภาพ ประมาณค่ามิได้ นอกจากนั้นการสาธยายมนต์ยังกล่าวถึง พระกรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณอีก นับเป็นการเสริมบารมีให้แก่ชีวิต บรรเทากิเลส ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า พระอริยะสงฆ์ และพระอรหันต์ เพื่อขัดเกลาจิตใจ ให้จิตตั้งมั่น ในอารมณ์กุศล เป็นอารมณ์มหัคคตาจิต คือจิตมีความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ไม่สัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นภาวะที่จิต มีความสงบ จนจิตเป็นสมาธิ (สมถะ) สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ที่เป็นองค์แห่งมรรคแล้วใช้สติพิจารณาเป็นปัญญาตามหลักอริยมรรคมีองค์ 8 คือทางปฏิบัติมัชฌิมา ด้วยสัมมาทิฏฐิ มีปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ สู่การเจริญวิปัสสนาภาวนา ด้วยปัญญาเห็นแจ้งสู่การสิ้นสุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร นวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
คณะศิษย์อาจารย์นิศา เชนะกุล. การเจริญสติปัฏฐาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนีพับ
บลิชชิ่ง, 2540.
พระธรรมธีรราชมหามุนี. หลักปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2531.
________. วิปัสสนาญาณโสภณ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เครืออนันต์การพิมพ์, 2546.
________. หลักปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2531.
พระอุปติสสเถระ. คัมภีร์วิมุตติมรรค. แปลโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ แปลจากฉบับภาษาอังกฤษ ของพระเอฮารา พระโสมเถระ และพระเขมินทเถระ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์ศยาม, 2554.
พุทธทาสภิกขุ. การทำสมาธิและวิปัสสนาที่แท้สมาธิวิปัสสนาตามวิธีธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2540.
ภัททันตอาสภเถระ ธัมมาจริยะ. วิปัสสนาทีปนีฎีกา กรุงเทพมหานคร: พี แอนด์ โฟ, 2526.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). “พระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้”. วารสาร Manusya: Journal Of Humanities สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย และจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ฉบับพิเศษ 4. (2545): 93.
________. พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552.