แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารงานวิชาการ, องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิบทคัดย่อ
การศึกษาแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยจำแนกตามสถานภาพของ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งใน การปฏิบัติงาน ขนาดของโรงเรียน จำนวน 266 คน จากจำนวนทั้งสิ้น 790 คน จากจำนวน 26 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมพบว่ามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากทุกด้าน และมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการวัดประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน รองลงมา คือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและด้านที่มีการใช้ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนิเทศการศึกษา
2. แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า โดยรวมพบว่าผู้บริหารให้การส่งเสริมจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางการวิจัยด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา มีความถี่สูงสุด = 63 คิดเป็นร้อยละ 33.69 รองลงมา คือ การจัดอบรมบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมวัดและประเมินผล ด้านการวัด ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน ความถี่สูงสุด = 62 คิดเป็นร้อยละ 33.16 และต่ำสุดคือ การประชาสัมพันธ์หลักสูตร ให้ผู้เรียนหรือผู้รับบริการหรือสังคมได้ทราบว่าหลักสูตรของสถานศึกษานั้น ๆ มีหลักสูตรอะไรบ้าง เนื้อหาหลักสูตรเป็นอย่างไร ในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีความถี่ละ 5.35 ผลการวิจัยครั้งนี้ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการในด้านการวัดประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และควรปรับปรุงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการในการนิเทศการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ.(2552). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล.กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กนกวรรณ สุภาราญ. (2563). [สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2563]. ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่ เข้าถึงได้จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372
บุญชม ศรีสะอาด, (2560).การวิจัยเบื้องต้: พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์:
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ยุทธนา วงศ์ใหญ่. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต 3. (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง).
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2552). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐา: (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: นำศิลป์โฆษณา.
รุ่งนภา จินดามล. (2556). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์).
Aikens, J.D.,& Catalano, J.T. (1994). Legal, Ethical, and Political issue in nursing Pheladenphia; F.A.Davis.
Faber, C. F. (1970). Elementary shool adminisstration. New York : Holt Rinchart and Winston.
Chan, S.C.H. and Mak, W.M. (2014). Transformational leadership, pride in being a follower of the leader and organizational commitment. Leadership & Organization Development Journal, Vol. 35 Iss: 8, pp.674 – 690
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร