ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1

ผู้แต่ง

  • มุกดา สารฤทธิ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย
  • พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, 2) เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ   กลุ่มตัวอย่างคือ  ครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนขยายโอกาส ปีการศึกษา 2562 จำนวน 277 คน  โดยสุ่มหาจำนวนโรงเรียนแยกเป็นรายอำเภอ โดยทำการแบ่งแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) จากนั้นดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากรแต่ละโรงเรียนใน 3 อำเภอ คือ  อำเภอเขาชะเมา อำเภอแกลง อำเภอวังจันทร์ แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน      

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าโดยรวมความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปฏิบัติการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  พบว่าโดยรวมมีการปฏิบัติการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก และ  3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับสูง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้านพบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในช่วงระหว่าง 0.55 - 0.76 การสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง กับหลักการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง   การควบคุมอารมณ์ตนเอง กับหลักการมีส่วนร่วม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูงและการตระหนักรู้อารมณ์ของตน กับหลักการคืนอำนาจจัดการศึกษาให้ประชาชน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (25548. ภาวะความเป็นผู้นำ. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส (1989).

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2550). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและปฏิบัติ: ศาสตร์และศิลป์สู่ความเป็นผู้นำที่สมบูรณ์. ม.ป.ท.

Cheng, Yin Cheong. (1996).School Effectiveness and School-based Management : A Mechanism for Development. London : The Falmer.

David, Jane L. (1996). The Who, What, and Why of Site-Based Management. Educational

Leadership.Florida Department of Education. Strategies for School-Based Management. December 1995/January

Farahbakhsh, S. (2012). The Role of Emotional Intelligence in Increasing Quality of Work Life

in School Principals. Iran : Master Thesis Department of Education, Lorestan University.

Krejcie, RV, & Morgan, DW (1970) Specifying sample sizes for research activities Educational and psychological measurements, 30, 607-610

Mohamad, Mafuzah & Jais, Juraifa (2016) Emotional intelligence and operations: Education among Malaysian teachers The 7th International Economics and Business Conference, 5 and 6 October 2015 Economics and Finance Procedia, 35, 674 - 682

Sivertson. S. (2018). A system dynamics model of fish populations in Western Lake Superior. Semantics Scholar.

Farahbakhsh, S. (2012). The Role of Emotional Intelligence in Increasing Quality

of Work Life in School Principals. Iran : Master Thesis Department of Education,

Lorestan University.

Wayne K. Hoy and Miskel G. Cencil. (2005). Education Administration : Theory, Research, and

Practice. New York : McGraw –Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.04.2025

How to Cite

สารฤทธิ์ ม. ., & เที่ยงภักดิ์ พ. . (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วารสารศิลปศาสตร์และการศึกษา, 1(1), 70–84. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/LAE/article/view/2063