ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1

ผู้แต่ง

  • นงนุช สังข์จีน หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย
  • พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, 2) ศึกษาสมรรถนะทางวิชาการ, และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะทางวิชาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา โรงเรียน เครือข่ายศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1  จำนวน  106  คน  จากทั้งหมด จำนวน 138  คน จำนวน 12 โรงเรียน  ได้มาโดยการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan  แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  เพื่อกำหนดสัดส่วนตัวอย่างของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในแต่ละโรงเรียนโดยวิธีการจับฉลาก   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ ตอนที่ 1 เป็นระดับการปฏิบัติของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารจำนวน 59  ข้อ ตอนที่ 2  เป็นระดับการปฏิบัติของสมรรถนะทางวิชาการของผู้บริหารจำนวน  20 ข้อ  ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.95  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่าโดยรวมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก 2) ค่าเฉลี่ยของระดับสมรรถนะทางวิชาการ พบว่าโดยรวมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน อยู่ในระดับมาก และ  3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับ สมรรถนะทางวิชาการ โดยรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์แต่ละด้านพบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลาง ระหว่างเป็นไปตามสมมุติฐานที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้นผู้บริหารจะต้องใช้การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อพัฒนาการบริหารสมรรถนะงานวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสภาการศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว:

ขนิษฐา อุ่นวิเศษ.(2550). ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การแห่งการ

เรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

จินต์ ใจกระจ่าง. (2553). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียน

สาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฐิติวรรณ ลีฬหวนิช, (2550). การศึกษาภารวะผู้นำกับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 8).

กรุงเทพฯ : สุวีริยา สาส์:

บุญชุ่ม ศรีสะอาด. (2555). การวิจัยเบื้องต้น: พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์:

พรรณี ลีกิจวฒั นะ. (2553). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วรรณเพ็ญ พิสุทธิพงษ์. (2553). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเขาฉกรรจ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สมส่วน ภูวงษ์ยางนอก. (2554). ปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.

Avolio. W., David, A., & Yammario. (1991). Leadingin the 1990 : The Four I’ of transformation Leadershi: Journal of European Industrial training (4) 1-8.

Bass, B.M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectation. New York: The Free.

Bass, B.M. and B.J. Avolio. (1994). Transformational Leadership Development. California:

Consulting Psychologist Press.

Bass, Bernard M. and Avolio, Bruce J. (1992). “Developing Transformational Leadership

and Beyond”. Journal of European Industrial Traning. (May 1990) : pp 21-27.

Kaplan, Elissa A. (2007). “Analysis of Leadership in three Jewish Congregational Schools” Dissertation Abstracts International. 68(01): unpaged; July.

Michael Fullan. (2006). Turnaround leadership “The Jossey-Bass education series”.

University of Michigan: Jossey-bass.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Runyon, Richard. : (1996). Fundamental of behavioral Statistics. New York : McGraw-Hill

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.04.2025

How to Cite

สังข์จีน น. ., & เที่ยงภักดิ์ พ. . . (2025). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับสมรรถนะทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. วารสารศิลปศาสตร์และการศึกษา, 1(1), 56–69. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/LAE/article/view/2062