การศึกษาและเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี บุญแน่น หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย
  • มณูญ เพชรมีแก้ว คณะศิลปศาสตร์และการศึกษา, วิชาสาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง, ประเทศไทย
  • อรุณวรรณ แก้วแกมเสือ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ประเทศไทย
  • ประยูร อาษานาม หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, พลวัตการเรียนรู้, การปรับเปลี่ยนองค์กร, การจัดการความรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงานและขนาดของสถานศึกษาตัวอย่างในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 357 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 20 คน และครู 337 คน  จำนวนสถานศึกษาจำนวน 85 โรงเรียน

     ผลการวิจัยพบว่า 1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า  ระดับการปฏิบัติการด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านพลวัตการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ถัดมา คือ ด้านการเสริมความรู้แก่บุคคล อยู่ในระดับมากด้านการจัดการความรู้ อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับการปฏิบัติการด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำเทคโนโลยีไปใช้อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

จิราพรรณ เสียงเพราะ. (2560). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี.การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

พงษ์ธร หนูฤทธิ์,สุรชัย สิกขาบัณฑิต .(2563).วัฒนธรรมองค์กรของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา

เขต 2.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย,249-259.

ยุพมาศ สุกใส. (2556). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วัฒนสิน บุสดี. (2559). รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.

สายรุ้ง เฟื่องสินธุ์. (2556). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุณิชษา วินิจฉัย. (2560). พฤติกรรมการบริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.(กลุ่มนโยบายและแผน). (2562). แผนปฏิบัติการ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์.(กลุ่มนโยบายและแผน). (2562).(2564). แผนการพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2563 – 2565 สพม.33 . สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2551).กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559) ฉบับสรุป.กรุงเทพฯ:วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W.(1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Marquardt, M.J. (2002). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.04.2025

How to Cite

บุญแน่น ส. . ., เพชรมีแก้ว ม. ., แก้วแกมเสือ อ. ., & อาษานาม ป. . (2025). การศึกษาและเปรียบเทียบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์และการศึกษา, 1(1), 42–55. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/LAE/article/view/2060