ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • พิมพ์พร มาศศิริ ภาควิชาสาขาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประเทศไทย
  • สาคร มหาหิงค์ ภาควิชาสาขาการบริหารการศึกษา ,มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น, ประเทศไทย
  • พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ

      ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ด้านการพัฒนาสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน ด้านการนิเทศการสอน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก  2) ผลการเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศโดยรวมพบว่า ไม่แตกต่างกัน ด้านการบริหารหลักสูตร และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน ด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอายุโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน  และจำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระแส ชนะวงศ์ (2556). ประธานอาศรมสาธารณสุขชุมชน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. บรรยาย.

ภัสรา ชูเลน. (2558). ภาวะผู้นำวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช).

ปฐม ปริปุนณังกูร. (2553). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ปาริชาติ ชูปฏิบัติ. (2555). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)

ละอองดาว ประโพธิ (2556) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิผลของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย. (หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

Draft, R. L. (2005). The leadership experience (3th ed.). Mason, OH: Thomson South-Western.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Yukl, G. A. (2002). Leadership in organizations. Englewood Cliff, New Jersey: Prentice-Hal

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.04.2025

How to Cite

มาศศิริ พ. . ., มหาหิงค์ ส. ., & เที่ยงภักดิ์ พ. . . (2025). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารศิลปศาสตร์และการศึกษา, 1(1), 27–41. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/LAE/article/view/2058