การบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1 การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการบริหาร สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1 และ 4) ศึกษาการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1 ตัวอย่างใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้ตารางการกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน จํานวน 379 คน จากจำนวน 6,305 คน จำนวน 76 โรงเรียน กําหนดสัดส่วนโดยคํานวณเทียบบัญญัติไตรยางค์ จําแนกตามโรงเรียน จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหาร ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation Coefficient) วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหาร กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การบริหารโดยรวมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การบริหารสถานศึกษา 2 คือ ลักษณะของบุคคลในองค์การ ลักษณะของสภาพแวดล้อม สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.772 มีค่าประสิทธิภาพในการพยากรณ์ (R2) ในภาพรวมเท่ากับ 0.597 ค่าความคลาดเคลื่อน มาตรฐาน (S.E.est) เท่ากับ 0.337 สามารถร่วมการทํานายประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ร้อยละ 59.70 โดยการบริหารทั้ง 2 ด้าน มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 1.052, 0.490, 0.202 ตามลําดับ มีค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (b) เท่ากับ 0.572, 0.225 ตามลําดับและมีค่าคงที่ของสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 1.052 สามารถเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณในคะแนนดิบ Y= 1.052 + .490X3 + .202 X2 และสมการถดถอยพหุคูณในคะแนนมาตรฐาน Zy = .572X3 + .225X2
References
กมลวรรณ ชัยวานิชศิร. (2536). ปจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่่สัมพันธ์กับประสิทธผลของโรงเรียน
เอกชน. วิทยานิพนธ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย
กันทิมา ชัยอุดม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
กรุณา ภู่มะลิ. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), 158-172
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่) (พิมพ์ครั้งที่ 8).
กรุงเทพฯ : สุวีริยา สาส์น.
บุญชุ่ม ศรีสะอาด. (2555). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้.
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Hoy, Wayne K. and Cecil G, Miskel. (2001). Educational Administration : Theory, Research and Practice. 6 th ed. Mc Graw – Hill International Edition 2001.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความนี้ได้รับการเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) ซึ่งอนุญาตให้ผู้อื่นสามารถแชร์บทความได้โดยให้เครดิตผู้เขียนและห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าหรือดัดแปลง หากต้องการใช้งานซ้ำในลักษณะอื่น ๆ หรือการเผยแพร่ซ้ำ จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากวารสาร