พระพุทธศาสนา ในสายตานักธรรมจาริกจีน
บทคัดย่อ
หนังสือชื่อเรื่อง “พระพุทธศาสนาในสายตานักธรรมจาริกจีน” แปลและเรียบเรียงโดย ส.ธรรมวิสัย ต้นฉบับคือข้อเขียนเรื่อง Buddhism in India as Described by the Chinese Pilgrims AD 399-698 ประพันธ์โดย Kanai Lal Hazra ซึ่งได้นำเผยแพร่ในธรรมจักษุ รวม 15 ตอน โดย กองบรรณาธิการธรรมจักษุได้รวบรวมและจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งมีจำนวน 201 หน้า เนื้อหาโดยรวมของหนังสือเล่มนี้ เป็นเรื่องราวของนักธรรมจาริกจีนที่เดินทางไปอินเดีย 3 คน คือ ฟาเหียน เฮี่ยงจัง และ อี้จิง รวมทั้งเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในแง่มุมต่าง ๆ จากบันทึกของธรรมจาริกทั้ง 3 คน ซึ่งได้สะท้อนภาพของพระพุทธศาสนาในอินเดียสมัยนั้น
ผู้วิจารณ์มีความสนใจในหนังสือเรื่องพระพุทธศาสนาในสายตานักธรรมจาริกจีน เนื่องจากมีเนื้อหาในเชิงประวัติศาสตร์และพุทธศาสนา โดยเนื้อหาดังกล่าวได้สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนอินเดียสมัยก่อน ที่แสดงถึงวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมทางพุทธศาสนา ทำให้สามารถทราบถึงต้นทุนทางสังคมยุคของคนนั้น ซึ่งผู้วิจารณ์เคยศึกษาหัวข้อของต้นทุนทางสังคมในเชิงสังคมศาสตร์มาก่อน จึงเป็นแรงบันดาลส่วนหนึ่งที่ทำให้อยากอ่านและศึกษาหนังสือเล่มนี้
References
ส. ธรรมวิสัย. (2562). พระพุทธศาสนาในสายตานักธรรมจาริกจีน. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เอมอร ดิสปัญญา, วิริยา วัฒนวรางกูร. (2548). การเขียนอนุเฉทชนิดต่างๆ (Paragraph Writing in Different Forms). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.