วิถีแห่งการเข้าถึงโมขธรรมและการละกิเลสในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • นางนวรัตน์ อังศุพาณิชย์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

โมขธรรม, การละกิเลส, พระพุทธศาสนาเถรวาท

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์วิถีแห่งการเข้าถึงโมขธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาท มุ่งที่จะศึกษา 3 ประการคือ เพื่อศึกษาแนวคิดวิถีแห่งการเข้าถึงโมขธรรมหรือโพธิปักขิยธรรม เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติเพื่อการตัดกิเลสตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท และ เพื่อเสนอแนวทางการหลุดพ้นตามความสามารถและความเพียรของแต่ละศาสนิกชน ผู้เขียนพบว่าในการแนวคิดวิถีแห่งการเข้าถึงโมขธรรมหรือโพธิปักขิยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 ส่วนการตัดกิเลสได้แก่ บุญญกริยาวัตถุ 3 สมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผู้วิจัยเสนอว่าทุกองค์กรควรจัดให้ ศีลมัย และภาวนามัยในนโยบายองค์กร และนำไปปฎิบัติเพราะต้นทุนต่ำมาก ส่วนในการวิจัยครั้งต่อไป สำหรับฆราวาสควรศึกษาในประเด็นเรื่องสังคหวัตถุจะทำให้ฆราวาสบรรลุนิพพานได้หรือไม่ และ สำหรับภิกษุ สามเณร และแม่ชีควรศึกษาในประเด็นเรื่องหลักการปฏิบัติวิปัสสนาในเชิงลึกเพื่อภิกษุบางรูป สามเณรและแม่ชีจะได้ใช้ปฎิบัติธรรมจากง่ายไปหายากเพื่อให้มีความสงบสุขในการก้าวสู่นิพพาน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิติวงศ์ (ทองดี สุรเดโชม ป.ธ.9 ราชบัณฑิต). [ออนไลน์]. โมขธรรม : คำวัด. แหล่งที่มา: https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php? i=2522.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2534). ทางไปนิพพาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระนคร.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ประยุตโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 25. มูลนิธิธรรมทานกุศลจิต: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช. [ออนไลน์]. ธรรมะเพื่อความพ้นทุกข์: สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน. วัดสวนสันติธรรม ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.dhamma. com/samatha-and-vipassana/

Admin. Buddhist Countries 2023: The Pew Research Center, World Population Review. Online. Retrieved 13 May 2023, from: https://worldpopulationreview. com/country-rankings/ buddhist-countries.

Buswell, Robert Jr.; Lopez, Donald Jr. (2013). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton University Press. ISBN 978-1-4008-4805-8.

Conze, Edward. Buddhist Thought in India: Three Phases of Buddhist Philosophy. Routledge, 2013) p. 71. ISBN 978-1-134-54231-4., Quote: "Nirvana is the raison d’être of Buddhism, and its ultimate justification".

Gethin, Rupert. (1998). Foundations of Buddhism. Oxford University Press.

Harvey, Peter and Emmanuel, Steven M. A (2015). Companion to Buddhist Philosophy. John Wiley & Sons.

Williams, Paul (2002). Buddhist Thought. Routledge.

Wilson, Jeff. (2010). Saṃsāra and Rebirth, in Buddhism. (Oxford University Press.

Wynne, Alexander (2012). Buddhist Thought. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

นางนวรัตน์ อังศุพาณิชย์. (2023). วิถีแห่งการเข้าถึงโมขธรรมและการละกิเลสในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 2(1), 47–56. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/1749