วิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อจัดการความเครียดสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, ความเครียด, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อจัดการความเครียดสำหรับผู้สูงอายุนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความเครียดของผู้สูงอายุ และเพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมเพื่อจัดการความเครียดสำหรับผู้สูงอายุ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์วิเศษ รวมถึงเอกสารทางพุทธศาสนาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความเครียดเป็นสภาวะทางกายและจิตใจที่เกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการและภาระหน้าที่ที่เกินกว่าทรัพยากรที่มีอยู่ สามารถเกิดจากสถานการณ์หรือปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความกดดันในการทำงาน. ความไม่แน่นอน. การเปลี่ยนแปลงทางชีวิต. ความกังวลเกี่ยวกับอนาคต และสถานการณ์ที่ซับซ้อนหรือไม่แน่นอน เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้ เช่น อาการปวดหัว. อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ. อาการท้องผูกหรือท้องเสีย. การนอนไม่หลับหรือการนอนมากเกินไป และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแรงลง. ความวิตกกังวล. อารมณ์ซึมเศร้า. ความผิดหวัง. ความรู้สึกเครียด. ความขาดเป้าหมาย เป็นต้น
หลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการความเครียดสำหรับผู้สูงอายุนั้น หลักโยนิโสมนสิการ ใช้พิจารณ์ความเครียดที่เกิดขึ้น โดยความเป็นไตรลักษณ์ ใช้ในการพิจารณาความแปลเปลี่ยนของความเครียดเมื่อเกิดแล้วก็ต้องมีดับ ความเป็นอกุศลมูล 3 อย่าง ให้ตระหนักถึงสาเหตุแห่งความเครียดที่เกิดมาจาก โลภะ โทสะ โมหะ จากนั้นใช้วิธีการทำสมาธิในการสงบระงับความเครียดนั้น หรือไม่ก็ควรคบกัลยาณมิตร ผู้ที่จะคอยแนะนำให้คำปรึกษาและชักชวนไปในทางที่ดี และใช้วิธีการสวดมนต์ เพื่อให้จิตไม่คิดถึงเรื่องราวความเครียดต่าง ๆ มุ่งกับการสวดมนต์ถ่ายเดียว
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
United Nations. [ออนไลน์]. World population to reach 8 billion on 15 November 2022. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/I45Tl [20 เมษายน 2566].
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
กรมสุขภาพจิต. [ออนไลน์]. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. แหล่งที่มา: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476 [20 เมษายน 2565].
อภิชาติ จำรัสฤทธิรงค์. (2553). สถานการณ์สุขภาพจิตคนไทย : ภาพสะท้อนสังคม. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. [ออนไลน์]. ความเครียดและวิธีแก้ ความเครียด. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/xWvju [20 เมษายน 2565].
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2556). “ธรรมทีปนี”. ทางเดิน. ปีที่ 28 ฉบับที่ 118 พฤษภาคม - มิถุนายน: 20.
พระครูปลัดไพรัช จนฺทสโร (กาญจนแก้ว) สวัสดิ์ อโณทัย สมบูรณ์ บุญโท. (2561). “การแก้ปัญหาโรคความเครียดด้วยพุทธปรัชญาว่าด้วยมหาสติปัฏฐาน 4”. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม: 377-393.
ชลวิทย์ เจียรจิตต์. (2560). “สถานการณ์และการจัดการความเครียดตามแนวพระพุทธศาสนา: กรณีศึกษาคณะสงฆ์จังหวัดนครนายกและสระแก้ว”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม: 154-167.
สมสุข นิธิอุทัย และคณะ. (2561). “การพัฒนารูปแบบการจัดการความเครียดในภาวะวิกฤตชีวิตของผ้สูงอายุ ในสถานสงเคราะห์คนชรา”. วารสารสัมคมศาสตร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม: 303.
นางสาวนันท์ณิชา สิงหเดชวีระชัย. (2562). “การศึกษาความเครียดและการจัดการความเครียดด้วย กิจกรรมนันทนาการของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองกระทุ่ม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม”. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดากรภาครัฐและภาคเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัญนิกา อยู่สำราญ และคณะ. (2565). “ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน: 1-16.
วาดฝัน ม่วงอ่ำ. (2563). “ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการจัดการความเครียดของทหารเรือกองทัพเรือ”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.