การดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาในยุค New Normal
คำสำคัญ:
ชีวิตใหม่, การดำเนินชีวิต, หลักพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
วิถีชีวิตที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากยุคสมัยหนึ่งไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนในยุคเก่าอาจจะนำมาใช้ในยคปัจจุบันไม่ได้เหตุผลเพราะบริบทของสังคมในสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงที่ดีนั้นจะต้องคงคุณค่าแห่งความดีไว้ และต้องแก้ไขข้อบกพร่องในอดีตให้มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีและสอดคล้องกับวิถีชีวิตใหม่ในสังคมปัจจุบันได้
พระพุทธศาสนาเป็นตัวอย่างของความดีที่มุ่งสอนให้พุทธศาสนิกชนดำรงตนอยู่ในหลักธรรรมในการดำเนินชีวิตคือ ละความชั่ว ประพฤติความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้นก็เป็นหลักทฤษฎีสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นั้นย่อมจะเกิดขึ้นอยู่ทุกยุคสมัย เพราะแม้แต่สภาพร่างกาย ของมนุษย์ก็ยังคงเปลี่ยนสภาพอยู่ตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้คือความจริงที่เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าใจและยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ หากอาศัยการชี้นำที่ถูกต้องก็จะสามารถเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงได้ เพราะทุกคนล้วนมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินชีวิตอย่างเดียวกันคือความสุข ถ้าหากมีความทุกข์เพราะปัญหาในชีวิต การจะดำเนินชีวิตให้เป็นปกตินั้นก็เป็นเรื่องยาก จึงต้องมีวิธีใช้ชีวิตให้เป็นปกติแม้จะต้องประสบกับปัญหา หรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดให้ได้ หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งชี้นำให้การใช้ ชีวิตในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ดำเนินไปได้โดยความเป็นปกติและส่งผลให้เกิดเป็นความสุขได้ในที่สุด
References
กรมสุขภาพจิต. (2564), New Normal ชีวิตวิถีใหม่.[ออนไลน์].แหล่ง'งที่ มา: https//www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288.
กรุงเทพธุรกิจ. (2564), New Normol คืออะไร เมื่อโควิด-19 ผลักเราสู่ชีวิต 'ปกติวิถีใหม่'. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/882508.
นภาพัทธ์ งามบุษงโสภิน. มนตรี สิระโรจนานันท์. (2563). "พุทธวิธีเพื่อการดูแลตนเองใน สถานการณ์โควิด 19". วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 42-48.
พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์) สุทธิวจโน และคณะ. (2564). "การดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพระพุทธศาสนา". วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน): 199-211.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
(2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมมสากิโย). (2564). ให้วัดอยู่ในบ้าน โควิดทำวิถีพุทธเปลี่ยน แต่ไม่กระทบ
แก่นธรรม. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://workpointtoday.com/vesak-day.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สยามรัฐออนไลน์. (2564). วิถีชีวิตใหม่ New Normol. โดยพระมหาโพธิวงศาจารย์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://siamrath.co.th/n/166631.
สอาด ภูนา สรณ์และคณะ. (2564). "พุทธวิถีไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในยุค NEW NORMAL". ". วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุหาขอนแก่น. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (เมษายน- มิถุนายน): 14-26.
สุจิตรา อ่อนค้อม. (2547). การฝึกสมาธิ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ดับเบิ้ลนายน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.