อริยสัจ 4 : กฎธรรมชาติว่าด้วยลักษณะแห่งความจริงของชีวิต และวิถีสู่ความหลุดพ้น
คำสำคัญ:
กฎธรรมชาติ, อริยสัจ, ความหลุดพ้นบทคัดย่อ
บทความวิชานี้ เป็นการกล่าวถึง กฎแห่งธรรมชาติ กำหนดอันแน่นอน ความเป็นไปอันมีระเบียบแน่นอนของธรรมชาติ กฎธรรมชาติ มี 5 ประการ คือ 1) อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ โดยเฉพาะดินน้ำอากาศ และฤดูกาล อันเป็นสิ่งแวดล้อมสำหรับมนุษย์ 2) พืชนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ มีพันธุกรรม 3) จิตตนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับการทำงานของจิต 4)กรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ คือ กระบวนการให้ผลของการกระทำ และ 5) ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลาย
อริยสัจ คือ ความจริงอย่างประเสริฐ ความจริงที่ทำให้คนเป็นพระอริยเจ้า ความจริงของพระอริยเจ้าและความจริงแท้ อริยสัจเป็นกระบวนการเข้าถึงความจริงตามทัศนะของพุทธปรัชญามีคุณค่า 4 ประการ คือ 1) เป็นวิธีการแห่งปัญญา 2) เป็นการแก้ปัญหาและจัดการกับชีวิตของตนด้วยปัญญาของมนุษย์เอง 3) เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่ามนุษย์จะเตลิดออกไปเกี่ยวข้อง4) เป็นหลักความจริงกลาง ๆ
ดังนั้นอริยสัจจะ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญและทรงแนะนำให้พทธศาสนิกชนศึกษาษาอย่างจริงจัง เพราะการรู้อริยสัจจะสามารถนำไปสู่ความดับกิเลสและทุกข์ได้
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
. (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2543). แก่นแท้พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (ม.ป.ป.). จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร?.
สมภาร พรมทา. (2540). พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคระ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.