การแสวงหาความจริงในอริยสัจ 4
คำสำคัญ:
การแสวงหา, อริยสัจ 4, ความจริงบทคัดย่อ
พระพุทธศาสนานั้นมีทัศนะการมองโลกและชีวิตแบบสัจนิยม (realism) เพราะเป็นการมองด้วย
สายตาวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ตั้งแต่ต้นจนจบตามความเป็นจริง คือ ในเบื้องต้นมองว่าชีวิตเป็นทุกข์อย่างนั้น ๆ
แต่กระนั้น ถ้าบุคคลสามารถแก้ไขจัดการทุกข์หรือปัญหาที่มีให้หมดไปด้วยวิธีที่ถูกต้องแล้ว ก็จะมีผลเป็นสุขได้
ในที่สุด มนุษย์ที่ชื่อว่าปัญญาดีเท่านั้นที่จะศึกษาและสามารถพัฒนาจิตให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ความทุกข์
เป็นปัญหาชีวิตที่เผชิญหน้าทุกคน ซึ่งการแก้ไขปัญหาชีวิตจะต้องดำเนินไปตามหลักเหตุผลและสติปัญญา หรือ
ดำเนินการให้ถูกต้องตามเหตุของปัญหานั้น ๆ แล้วดับที่เหตุ ปัญหาจึงจะคลี่คลายหรือดับลง อริยสัจ 4 เป็น
การเข้าใจสภาวะแห่งขันธ์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับสลายไปตามสามัญลักษณะ รู้เท่าทันและเข้าใจทุกข์เพื่อที่จะ
กำจัดหรือให้พ้นจากความทุกข์โดยการฝึกอบรมปฏิบัติตนด้วย การกำหนดรู้สาเหตุที่เกิดทุกข์ การเข้าถึงภาวะ
แห่งการดับทุกข์ด้วยการฝึกอบรมปฏิบัติ การกำหนดรู้ปหานะ การละหรือการกำจัดสาเหตุแห่งทุกข์ สัจฉิกิริยา
การทำให้แจ้ง และภาวนา การฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อการดับทุกข์
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระมหาสำรอง สญฺ โต และ ณัฐชยา จิตภักดี. .2563). “กระบวนการแสวงหาความจริงในเชิงปรัชญาที่
ปรากฏในเกสปุตตสูตร”. Journal of Modern Learning Development. ปีที่ 5 ฉบับที่ 4
กรกฎาคม-สิงหาคม: 102-117.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2544). อริยสัจจ์ 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสร้างสรรค์บุคส์ จำกัด.
อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2551). พุทธศาสน์แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.