วิเคราะห์สารัตถะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสัญลักษณ์ของชาติไทย

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาอุทัย สุจิณฺโณ (พิทักษ์หงส์สกุล)

คำสำคัญ:

สารัตถะ, แหล่งท่องเที่ยว, วัฒนธรรม, สัญลักษณ์

บทคัดย่อ

วิเคราะห์สารัตถะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสัญลักษณ์ของชาติไทยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อคือ
1) เพื่อศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสัญลักษณ์ของชาติไทย 2) เพื่อวิเคราะห์สารัตถะของแหล่งท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมสัญลักษณ์ของชาติไทย โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่า
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทย" คือกระบวนการท่องเที่ยวที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์ทาง
วัฒนธรรมของประเทศไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวได้ทำความรู้จักและเรียนรู้ประสบการณ์ทางวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และประเพณีของสถานที่ท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น และสร้างรายได้ที่ยั่งยืนแก่ชุมชน
ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นประมาณ 5 ด้าน ด้วยกัน ประกอบด้วย 1) ด้าน
พระพุทธศาสนา มีวัดวาอารามสวยงามทั่วประเทศ มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งปี
2) ประเพณีสงกรานต์ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกในการสาดน้ำปะแป้งกัน 3) มารยาทไทย เป็นอัตลักษณ์
เฉพาะที่นักท่องเที่ยวชอบได้แก่ การยิ้มและการไหว้ 4) การแต่งกาย เป็นอัตลักษณ์ของคนไทยที่ชาวต่างชาติ
ชอบสวมใส่ และ 5) อาหาร เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ไม่ว่าจะไปไหนก็ตาม และอาหารไทยก็เป็นที่ติดอกติดใจของ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะ ต้มยำกุ้ง ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไป
แล้ว

References

การท่องเที่ยวแห่งประไทย. (2546). รายงานประจำปี 2546. กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่ง ประเทศ

ไทย.

การท่องเที่ยวแห่งประไทย. (2539). การพัฒนาท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:

การท่องเที่ยวแห่งประไทย.

จุฑาภรณ์ หินซุย และสถาพร มงคลศรีสวัสดิ์. (2557). “แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษาวัด

ประชาคมวนาราม อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด”. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทย

นานาชาติ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1: 55-57.

จีรนันท์ ทองสมัคร. (2556). “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ทิศทางของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน”.

วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม: 91-104.

ถนอมจิต คงจิตงาม. (2555). ดาสต้า สตอรี่. กรุงเทพมหานคร: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ

ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.

พระครูสุจิณเขมคุณ เขมาภิรโต (ฤทธิ์แคล้ว). (2561). “ศึกษาาคุณค่าประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อชุมชน :

กรณีศึกษาชุมชนบ้านใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร

มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย.

พิไล จิรไกรศิริ และคณะ. (2553). ช่วงหนึ่งของชีวิตที่งดงามบนเส้นทางบุญทั่วไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง

กรณราชวิทยาลัย.

ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). “การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับ

ประเทศไทย”. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. ปีที่ 33 ฉบับที่ 2: 331-366.

สถาปนา กิตติกุล. เส้นทางท่องเที่ยวภูมิทัศน์เชิงนิเวศน์ กรณีศึกษาทางหลวงแผ่นดินหมายเลข1096 จังหวัด

เชียงใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://elibrary.trf.or.th/project_content.asp?PJID=

RDG4650021. [24 เมษายน 2566].

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2550). พระราชบัญญัติบารุงวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2543. กรุงเทพมหานคร:

ราชบัณฑิตยสถาน.

สุพัตรา สุภาพ. (2528). วัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

สุกานดา ฟองย้อย. (2546). การท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

พระใบฎีกาอุทัย สุจิณฺโณ (พิทักษ์หงส์สกุล). (2024). วิเคราะห์สารัตถะของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสัญลักษณ์ของชาติไทย. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 3(1), 1–14. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/1605