สุวรรณภูมิ : ศึกษาและตีความจากคัมภีร์

ผู้แต่ง

  • มานพ นักการเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
  • วิญญู กินะเสน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
  • บานชื่น นักการเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย
  • ฉัชศุภางค์ สารมาศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สุวรรณภูมิ , นางผีเสื้อน้ำ, พระสมณทูต

บทคัดย่อ

สุวรรณภูมิเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมแห่งหนึ่งของโลกตะวันออก เช่นเดียวกับอารยธรรมจีนโบราณและอินเดียโบราณ เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่พวกพ่อค้าชาวอินเดียเดินทางไปค้าขาย เป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาตั้งมั่นนอกประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก โดยการนำของพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ซึ่งเกิดขึ้นหลังการทำสังคายนาครั้งที่ 3 ในพุทธศตวรรษ 3 โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช จัดเป็นยุคที่ 1 ใน 4 ยุค ของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เรียกว่า ยุคเถรวาทแบบสมัยอโศก

การศึกษาตีความประวัติศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยอาศัยคัมภีร์สมันตปาสาทิกา คัมภีร์มหาวงศ์ และคัมภีร์ทีปวงศ์ ทำให้ได้ประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การส่งพระสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ, พระโสณเถระและพระอุตตรเถระในฐานะเป็นพระสมณทูต, นางรากษส – นางผีเสื้อน้ำ -ปีศาจ, พระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นเพียงตำนานหรือบุคคลที่มีตัวตนจริงในทางประวัติศาสตร์และการพัฒนาระบบกษัตริย์ตามคติอินเดีย

References

กรมศิลปากร. (2526). พระคัมภีร์ทีปวงศ์. กรุงเทพมหานคร : กรมศิลปากร.

ข่าววาไรตี้. (2559). เจาะตำนานหลวงปู่เทพโลกอุดร.(ออนไลน์). แหล่งที่มา : https://www.tnews.co.th/ (14 พฤศจิกายน 2565)

ประทุม ชุมเพ็งพันธุ์. (2546). สุวรรณภูมิ ดินแดนทองแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุวีริยาสาส์น.

ผาสุข อินทราวุธ, ศาสตราจารย์ ดร. (2548). สุวรรณภูมิจากหลักฐานโบราณคดี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). จารึกอโศก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

พระมหานามเถระ และคณะบัณฑิต. (2553). คัมภีร์มหาวงศ์ ภาค 1 แปลโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุเทพ พรมเลิศ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2534). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (2562). การเข้ามาของพระพุทธศาสนาและระบอบราชามหากษัตริย์ในสุวรรณภูมิ. วารสารเมืองโบราณ. 44 (4) : 5-15.

สมัย ยอดอินทร์, รองศาสตราจารย์และคณะ. (2555). งานวิจัยจากข้อมูลเชิงคุณภาพเกี่ยวกับข้อขัดแย้ง “เรื่องการเป็นหรือไม่เป็นปีอธิกมาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555. เชียงใหม่ : มูลนิธิวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-30

How to Cite

นักการเรียน ม. . ., กินะเสน ว. . ., นักการเรียน บ. ., & สารมาศ ฉ. . (2025). สุวรรณภูมิ : ศึกษาและตีความจากคัมภีร์. วารสารพุทธศาสน์สังคมร่วมสมัย, 4(1), 34–49. สืบค้น จาก https://so11.tci-thaijo.org/index.php/JCBS/article/view/1568